Page 48 - ชุดการสอนประวัติศาสตร์ม.1
P. 48

3) ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยสุโขทัย

                       อาณาจักรสุโขทัยตั งอยู่ท่ามกลางอาณาจักรหรือหัวเมืองที่เป็นของชนชาติไทยกลุ่มอื่น หรือชนชาติอื่น

               ซึ่งต่างเป็นอิสระ มีอํานาจมากบ้างน้อยบ้าง สุโขทัยจึงต้องมีนโยบายสร้างความสัมพันธ์ กับรัฐต่าง ๆ ให้

               เหมาะสมกับสถานการณ์

               3.1 ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับรัฐใกล้เคียง

                       1. อาณาจักรล้านนา ผู้สถาปนาอาณาจักรล้านนา คือ พระยามังราย พระองค์ทรงเป็น พระสหายร่วม


               สาบานกับพ่อขุนรามคําแหงมหาราชและพระยางําเมืองแห่งแคว้นพะเยา เมื่อพระยา มังรายสร้างเมือง
               เชียงใหม่ก็ได้ทรงเชิญพระสหายทั งสองพระองค์ไปร่วมปรึกษาหารือ แสดงถึง ความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกัน


                       สมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) พระเจ้ากือนาแห่งล้านนาแต่งทูตมาขออาราธนา พระเถระผู้ใหญ่
               ของสุโขทัยไปสืบพระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ที่ล้านนา นับเป็นการแลกเปลี่ยน ทางวัฒนธรรมกัน ทําให้


               ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐทั งสองแน่นแฟ้นยิ่งขึ น และยังมีการแลกเปลี่ยน ทางวัฒนธรรมด้านอื่น ๆ กันอีก เช่น
               สถาปัตยกรรมและประติมากรรมสุโขทัยและล้านนาต่าง ได้รับอิทธิพลซึ่งกันและกัน


                       ถึงสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไทย) ทางล้านนาเกิดชิงอํานาจกัน ท้าวกุมกามขอให้ สุโขทัยส่ง
               กองทัพไปยึดเมืองเชียงใหม่คืนจากพระเจ้าสามฝั่งแกน สุโขทัยจึงยกทัพไปโจมตีเชียงใหม่ แต่ไม่ได้รับชัยชนะ


               นับแต่นั นสุโขทัยกับล้านนาก็บาดหมางกัน จนสุโขทัยถูกรวมเข้ากับอยุธยา ส่วนล้านนาก็ตกเป็นประเทศราช

               ของพม่า และบางยุคบางสมัยก็เป็นประเทศราชของอยุธยา

                       2. แคว้นพะเยา เนื่องจากพระยางําเมืองแห่งแคว้นพะเยาเป็นพระสหายกับพ่อขุนรามคําแหง

               มหาราชดังได้กล่าวมาแล้ว อาณาจักรสุโขทัยกับแคว้นพะเยาจึงเป็นมิตรที่ดีต่อกัน มีการแลกเปลี่ยน ทาง

               วัฒนธรรมและมีการติดต่อค้าขายกัน เส้นทางการค้าจากกรุงสุโขทัยไปเมืองพะเยา เชียงราย เชียงแสน เป็น

               เส้นทางการค้าสําคัญเส้นทางหนึ่ง ทั งยังเป็นทางผ่านของสินค้าจากจีนเข้ามาสู่สุโขทัย ทางบกด้วย

                       แคว้นพะเยาถูกรวมเข้ากับอาณาจักรล้านนาในสมัยพระยาคําฟูแห่งเมืองเชียงใหม่

                       3. เมืองน่าน น่านเคยเป็นประเทศราชของสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคําแหงมหาราช เมื่อสิ น สมัยพ่อขุน

               รามคําแหงมหาราชแล้ว น่านเป็นอิสระอยู่ระยะหนึ่งแล้วตกไปเป็นประเทศราชของ แคว้นพะเยา ต่อมาในสมัย

               พระมหาธรรมราชาที่ 1 และ 2 สุโขทัยตีได้เมืองน่านอีก ในสมัย พระมหาธรรมราชาที่ 1 ทรงส่งสมณทูตเข้าไป

               เผยแผ่พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ที่เมืองน่าน ทําให้ น่านได้รับอิทธิพลทางศิลปกรรมอันเนื่องจาก

               พระพุทธศาสนาเข้าไปด้วย เช่น การหล่อพระพุทธรูป ปางลีลาแบบสุโขทัย รวมทั งรับตัวอักษรไทยของสุโขทัย

               ไปใช้ในทางศาสนา

                       ใน พ.ศ. 1935 สุโขทัยและน่านได้ทําสัญญาที่จะช่วยเหลือกันและไม่รุกรานกัน การที่สุโขทัย กับน่าน

               เป็นมิตรที่ดีต่อกัน ส่วนหนึ่งมาจากการสร้างความสัมพันธ์ทางเครือญาติ คือ มีการอภิเษก สมรสระหว่าง
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53