Page 55 - ชุดการสอนประวัติศาสตร์ม.1
P. 55

ประชาชนและทาส เป็นชนชั นที่ถูกปกครอง


                       สังคมสุโขทัยยึดมั่นในพระพุทธศาสนา ประชาชนได้รับการขัดเกลาจิตใจให้มีคุณธรรม จริยธรรม และ

               ในแง่ของศิลปกรรม ทําให้สามารถสร้างสรรค์ศิลปกรรมไว้เป็นมรดกตกทอดมา จนถึงปัจจุบัน


               6) ศิลปวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย


                       อาณาจักรสุโขทัยได้สร้างแบบแผนของการดํารงชีวิตอยู่ร่วมกัน และได้สร้างสรรค์ ศิลปวัฒนธรรมไว้

               เป็นอันมาก เป็นมรดกตกทอดแก่อาณาจักรไทยในยุคหลัง ทั งในด้านศาสนา ด้านศิลปกรรม ด้านวรรณกรรม

               และด้านขนบธรรมเนียมประเพณี


                       6.1 ศาสนา

                       จากจารึกหลักที่ 13 พ.ศ. 2053 และหลักอื่น ๆ สรุปได้ว่า ศาสนาในสุโขทัยมีพระพุทธศาสนา กับ

               ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และมีความเชื่อทางไสยศาสตร์กับการนับถือผีสางเทวดาด้วย

                       พระพุทธศาสนาในสุโขทัยรับมาจากที่อื่นอาจแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ

                       1.  สมัยพ่อขุนรามคําแหงมหาราช ทรงนิมนต์พระมหาเถรสังฆราชจากนครศรีธรรมราช มาเผยแผ่

               พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทในสุโขทัย เป็นเหตุให้นิกายเถรวาทตั งมั่นในสังคมไทย มาตั งแต่นั น

                       2.  สมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1  (ลิไทย) พระอโนมทัสสีและพระสุมนเถระนําพระพุทธศาสนา แบบ

               ลังกาวงศ์เก่าหรือรามัญวงศ์จากนครพันของมอญมาเผยแผ่ในสุโขทัย

                       3. สมัยพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) ทรงนําพระธรรมคัมภีร์พระพุทธศาสนาแบบ ลังกาวงศ์ใหม่

               จากลังกามาเผยแผ่ที่พิษณุโลกซึ่งเป็นเมืองหลวงของสุโขทัยขณะนั น นิกายของสงฆ์ ในสุโขทัยปรากฏหลักฐาน

               ในจารึกหลักที่ 9 พ.ศ. 1849 ว่ามี 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายคามวาสีอยู่ในเมือง หรือใกล้เมือง ฝ่ายอรัญวาสีอยู่นอกเมือง

               และฝ่ายพระรูปซึ่งนับถือพระรูปพระโพธิสัตว์ สงฆ์แต่ละ ฝ่ายมีพระสังฆราชที่พระมหากษัตริย์แต่งตั งเป็น

               ผู้ปกครอง

                       พ่อขุนรามคําแหงมหาราชทรงส่งเสริมการศึกษาธรรมและปฏิบัติธรรมให้เป็นแนวเดียวกัน จะเห็นได้

               จากการที่ทรงสร้างพระแท่นมนังศิลาบาตรไว้กลางดงตาล ซึ่งอยู่ภายในกําแพงเมือง ของกรุงสุโขทัย เพื่อใช้เป็น

               ที่สําหรับพระสงฆ์ขึ นนั่งแสดงพระธรรมเทศนาในวันพระเป็นประจํา หากเป็นวันธรรมดาพระองค์ก็จะใช้เป็นที่

               ประทับว่าราชการและตัดสินคดีความต่าง ๆ


                       สมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) พระพุทธศาสนาในอาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญสูงสุด นอกจาก
               มีพระเถระจากมอญมาเผยแผ่หลักธรรมแล้ว ยังทรงส่งพระสงฆ์สุโขทัยไปศึกษายัง สํานักเรียนของคณะสงฆ์


               มอญที่เมืองนครพัน ซึ่งมีพระอุทุมพรบุปผามหาสวามีเป็นเจ้าสํานัก เป็นสํานักที่มีชื่อเสียงได้รับการยกย่องทั ง
               ด้านการศึกษาและการปฏิบัติ และทรงสร้างวัดให้พระสงฆ์ ที่เรียนจบแล้วกลับมาจําพรรษา ต่อมาทรงส่ง
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60