Page 58 - ชุดการสอนประวัติศาสตร์ม.1
P. 58
ภาพจ าหลักลายเส้นบนแผ่นหินชนวน ที่ผนังเพดานของอุโมงค์
ทางเดินขึ้นสู่ยอดมณฑป วัดศรีชุม ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์
สุโขทัย เป็นภาพชาดก มีทั้งหมดกว่า 50 ภาพ ภาพที่เห็นนี้เป็น
ชาดกเรื่องโภชาชานิยชาดก พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นม้า
แสดงธรรมแก่พระยา 7 ตน ปัจจุบันอยู่ที่ )วัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย
6.3 วรรณกรรม
วรรณกรรมสมัยสุโขทัยเขียนเป็นร้อยแก้ว เรื่องที่สําคัญ ได้แก่
1. จารึกหลักที่ 1 ศิลาจารึกพ่อขุนรามคําแหง จารึกลงบนแท่งหินทรงสี่เหลี่ยม กล่าวถึง พระราช
ประวัติพ่อขุนรามคําแหงมหาราชและเรื่องราวของสุโขทัย ศิลาจารึกนี มีคุณค่าอย่างยิ่ง ต่อการศึกษา
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยสุโขทัย
2. ไตรภูมิพระร่วงหรือเตภูมิกถา เป็นพระราชนิพนธ์ในพระมหาธรรมราชาที่ 1 เป็นเรื่อง เกี่ยวกับ
ศาสนา มุ่งหมายที่จะอบรมสั่งสอนให้คนยึดมั่นในพระพุทธศาสนาและการทําความดี ชี ให้เห็นเรื่องบาป-บุญ
นรก-สวรรค์ ซึ่งมีอิทธิพลต่อวรรณกรรมและความเชื่อของคน ในสมัยต่อมา วรรณกรรมเรื่องนี คัดลอกกันมา
หลายต่อหลายทอด ต้นฉบับเดิมสูญหายไปนานแล้ว
จารึกหลักที่ 1 “ศิลาจารึกพ่อขุนรามค าแหง ปัจจุบันอยู่ที่ ภาพพระมาลัยโปรดสัตว์ในเมืองนรก จากเรื่อง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครกรุงเทพมหานคร “ไตรภูมิพระร่วง” จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ
วัดดุสิดาราม เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
6.4 ขนบธรรมเนียมประเพณี
ขนบธรรมเนียมประเพณีของสุโขทัยที่เป็นมรดกตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่เกี่ยวข้อง กับ
พระพุทธศาสนา เช่น ประเพณีการบวช การทําบุญตักบาตร การฟังเทศน์ การทอดกฐินนอกจากนี ยังมีพระราช