Page 63 - ชุดการสอนประวัติศาสตร์ม.1
P. 63
สระน ําในสมัยสุโขทัยเรียกว่า ตระพัง ขุดเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ในจารึกหลักที่ 1 ศิลาจารึกพ่อขุน
รามคําแหง ด้านที่ 2 กล่าวถึงสระน ําแห่งหนึ่งว่า กลางกรุงสุโขทัยมีตระพังชื่อ “โพยสี” น ําในตระพังใสและมี
รสดีเหมือนกับน ําในแม่น ําโขงยามแล้ง
ส่วนบ่อน ําจะขุดเป็นบ่อกลม กรกันบ่อด้วยอิฐหรือศิลาแลง น ําจากบ่อใช้ในการอุปโภค บริโภค
7.3 เครื่องสังคโลก
สังคโลก เป็นชื่อเครื่องปั้นดินเผาเคลือบเนื อละเอียดที่ผลิตขึ นในอาณาจักรสุโขทัยบริเวณ ลุ่มน ํายม
และลุ่มน ําน่าน มีกรุงสุโขทัยและศรีสัชนาลัยเป็นศูนย์กลางการผลิต ภายหลังชื่อนี ใช้เรียก เครื่องปั้นดินเผา
เคลือบที่ผลิตจากที่อื่นด้วย
การทําเครื่องสังคโลกสุโขทัย สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลทางเทคนิคมาจากเครื่องเคลือบของ เขมร
อันนัม (เวียดนาม) และจีน แต่ก็มีนักวิชาการบางท่านเชื่อว่า การทําเครื่องสังคโลกของสุโขทัย เป็นพัฒนาการ
ด้านเทคนิคที่เกิดขึ นเองในท้องถิ่นตั งแต่ก่อนตั งอาณาจักรสุโขทัย แล้วมารับเทคนิค จากจีนในภายหลัง จาก
การขุดค้นแหล่งเตาเผาโบราณที่บ้าน เกาะน้อย อําเภอศรีสัชนาลัย
จังหวัดสุโขทัย พบเตาเผาทับซ้อนกันถึง 11 ชั น แสดงให้เห็นว่า การทํา
เครื่องปั้นดินเผามีพัฒนาการสืบเนื่องกัน มาโดยตลอด เตาเผาใน
ระยะแรกใช้เทคโนโลยี ง่าย ๆ โดยการขุดเจาะพื นดินชายตลิ่ง ด้านบน
เจาะปล่องขึ นไปถึงพื นดิน เรียกว่า เตาขุดหรือ เตาอุโมงค์ ต่อมารู้จัก
สร้างเตาบนเนินดินเพื่อ ให้พ้นน ําท่วม ทําโครงด้วยไม้ไผ่แล้วเอาดิน
เหนียว พอกทับ เรียกว่า เตาประทุน หลังจากนั น จึงรู้จักสร้างเตา
อิฐซึ่งเป็นวิวัฒนาการขั นสูงสุดเตาอิฐทนความร้อนได้สูง จึงผลิตเครื่อง
สังคโลกได้คุณภาพดี เตาประทุนใช้เผาเครื่องสังคโลก
เตาเผาเครื่องปั้นดินเผาสมัยสุโขทัยเรียก กันว่า เตาทุเรียง
แหล่งเตาสําคัญมี 3 แหล่ง คือ เตาทุเรียงสุโขทัย ปัจจุบันอยู่ใน
บริเวณอุทยาน ประวัติศาสตร์สุโขทัย เตาทุเรียงเกาะน้อย อยู่ที่
ตําบลหนองอ้อ อําเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย และเตาทุเรียงป่า
ยาง อยู่ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย เตาทุเรียงป่ายาง
นี ผลิตสังคโลก ที่ประณีต มีรูปแบบแตกต่างจากแหล่งเตาอื่น จึง เชื่อ
ว่าน่าจะเป็นเตาหลวงสําหรับผลิตของสวยงาม เพื่อใช้ในราชสํานัก