Page 59 - ชุดการสอนประวัติศาสตร์ม.1
P. 59

พิธีที่รับมาจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เช่น พระราชพิธีราชาภิเษก พระราชพิธีจรดพระนังคัล




               7) ภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย


                       ภูมิปัญญา หมายถึง ความรู้ ความคิด ความเชื่อ ความสามารถ ความชํานาญ หรือทักษะ ที่มนุษย์ใน

               สังคมใดสังคมหนึ่งได้จากประสบการณ์และสั่งสมไว้แล้วถ่ายทอดต่อกันมา เพื่อใช้สร้าง ประโยชน์ หรือใช้
               แก้ปัญหาในสิ่งแวดล้อมที่ตนตั งถิ่นฐานอยู่ ภูมิปัญญานี บางอย่างรับมาจาก ภายนอก โดยอาจรับมาใช้เลยหรือ

               ปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับสังคมของตนเสียก่อน ภูมิปัญญาเดิม ก็อาจนํามาใช้ใหม่หรือปรับปรุงใหม่ และอาจ
               สร้างภูมิปัญญาใหม่ขึ นเลยก็ได้ เพื่อให้เหมาะสมกับ ยุคสมัย หรือสอดคล้องกับความจําเป็นในขณะนั น


                                                              ภูมิปัญญาแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ภูมิปัญญาชาวบ้าน

                                                      และภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาชาวบ้านหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น

                                                      เป็นสิ่งที่ชาวบ้านคิดขึ นเพื่อใช้แก้ปัญหาทํามาหากิน การรักษา
                                                      โรคแบบพื นบ้าน ภูมิปัญญาไทย เป็นความรู้ความสามารถโดย

                                                      ส่วนรวม และเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ

                                                              ภูมิปัญญาไทยจึงนําไปใช้ในวงกว้างกว่า ภูมิปัญญา
                                                      ชาวบ้าน เช่น ภาษาไทยเป็นภูมิปัญญาไทย ที่ใช้แพร่หลายไป

                                                      ทั่วประเทศ แต่ภาษาถิ่นเป็น ภูมิปัญญาชาวบ้านที่ใช้กันเฉพาะ
                                                      ในท้องถิ่นนั น ๆ  ภูมิปัญญาสมัยสุโขทัยที่สําคัญ ได้แก่

                                                      อักษรไทย การชลประทาน เครื่องสังคโลก ศาสนา ศิลปกรรม
               ตัวอย่างอักษรปัลลวะของอินเดียฝ่ายใต้ซึ่งมี             วรรณกรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี


               อิทธิพลต่อการประดิษฐ์อักษรเขมร มอญ และไทย




                       7.1 อักษรไทย

                       ภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัยที่นับว่ามีความสําคัญมาก ได้แก่ การประดิษฐ์ตัวอักษรไทย ของพ่อขุน


               รามคําแหงมหาราช
                       พ่อขุนรามคําแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ นใน พ.ศ. 1826 ขณะนั นตัวอักษรของ ชนชาติต่าง


               ๆ ในภูมิภาคนี  เช่น เขมร มอญ ล้วนแต่ได้รับอิทธิพลมาจากตัวอักษรของอินเดีย ฝ่ายได้ คือ อักษรคฤนถ์และ
               อักษรปัลลวะ ชนชาติที่กล่าวมาแล้วมีพยัญชนะและสระเท่ากับที่รับ มาจากอินเดีย แต่ในการประดิษฐ์ตัว


               อักษรไทยของพ่อขุนรามคําแหงมหาราชทรงเพิ่มพยัญชนะและ สระให้มากขึ น และให้มีวรรณยุกต์เอกและ
               วรรณยุกต์โท (รูปเป็นกากบาทอย่างไม้จัตวาปัจจุบัน ด้วย ทําให้เขียนได้ตามเสียงพูดทุกเสียงเหนือกว่าตัวอักษร
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64