Page 187 - การเป็นผู้ประกอบการ_Neat
P. 187

181








                        3) หากใน 1 ปีปฏิทินมีการยื่นขอรับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานเกินกว่า 1 ครั้ง ให้นับ

          ระยะเวลาการรับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานรวมกันไม่เกิน  180 วัน โดยเงินทดแทนการขาดรายได้ จะจ่าย

          เป็นงวดเดือน ผ่านการโอนเงินทางบัญชีธนาคารตามที่ผู้ประกันตนแจ้งไว้

                        หากผู้ประกันตนประสบอันตราย หรือเป็นโรคจากการทํางาน สามารถขอรับเงินทดแทน จาก

          กองทุนเงินทดแทนได้ตามเงื่อนไขต่อไปนี้

                        1. กรณีผู้ประกันตนประสบอันตราย หรือเป็นโรคจากการทํางาน ไม่สามารถทํางาน ได้

          ติดต่อกันเกิน 3 วันขึ้นไป แต่ไม่เกิน 1 ปี จะได้รับค่าทดแทนจํานวน 60% ของค่าจ้างรายเดือน ลูกจ้าง จะได้รับ
          ค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนเงินทดแทนเท่าที่จ่ายตามจริง แต่ไม่เกิน 45,000 บาท หากเกิน 45,000 บาท ให้

          นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็นเพิ่มอีกไม่เกิน  65,000 บาท ตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้

                        2. หากผู้ประกันตนสูญเสียอวัยวะจะได้รับเงินค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน จํานวน 60% ของ

          ค่าจ้างรายเดือน ในการหยุดพักรักษาตัว และได้รับค่าทดแทน 60% ของค่าจ้างรายเดือนตามการ สูญเสีย

          อวัยวะแต่ไม่เกิน 10 ปี ทั้งนี้ การประเมินการสูญเสียอวัยวะ ลูกจ้างต้องได้รับการรักษาทาง การแพทย์จนสิ้นสุด

          การรักษา และอวัยวะคงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือเมื่อพ้นกําหนดระยะเวลา  1 ปี ลูกจ้างประสบอันตราย

                        3. หากลูกจ้างจําเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูจะได้รับค่าฟื้นฟูสามารถเบิกค่าใช้จ่ายคือ  ค่าใช้จ่ายใน

           การฟื้นฟูด้านการแพทย์ และอาชีพเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 20,000 บาท และค่าใช้จ่ายในการผ่าตัด เพื่อ

          ประโยชน์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางาน ไม่เกิน 20,000 บาท
                        โรคและบริการที่ไม่มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์ (กลุ่ม 15 โรคยกเว้น)

                        1. โรคจิต ยกเว้น กรณีเฉียบพลัน ซึ่งต้องทําการรักษาในทันทีและระยะเวลาไม่เกิน 15 วัน
                        2. โรคหรือประสบอันตรายอันเนื่องมาจากการใช้สารเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด

                        3. โรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลประเภทคนไข้ในเกิน 180 วัน ใน
                        4. การบําบัดไตกรณีไตวายเรื้อรัง ยกเว้น

                        4.1 กรณีไตวายเฉียบพลันที่มีระยะเวลาการรักษาไม่เกิน 60 วัน ให้มีสิทธิได้รับบริการ ทาง
          การแพทย์

                        4.2 กรณีเจ็บป่วยด้วยโรคไตวายเรือรังระยะสุดท้าย ให้มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์ โดย
          การบําบัดทดแทนไตด้วยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม  ด้วยวิธีการล้างช่องท้องด้วยน้ํายาถาวร และด้วย


          วิธีการปลูกถ่ายไต ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและอัตราที่กําหนดในประกาศสํานักงานประกันสังคม
   182   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192