Page 184 - การเป็นผู้ประกอบการ_Neat
P. 184
178
หากเป็นโรงพยาบาลเอกชน จะจ่ายให้ดังนี้
ผู้ป่วยนอก (กรณีที่ไม่เข้าตามโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ)
- สามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,000 บาท
- สามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์ เท่าที่จ่ายจริงเกิน 1,000 บาทได้ หากมีการ ตรวจ
รักษาเพิ่มเติมตามรายการในประกาศคณะกรรมการการแพทย์
ผู้ป่วยใ น (กรณีที่ไม่เข้าตามโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ)
- ค่ารักษาพยาบาล กรณีที่ไม่ได้รักษาในห้อง ICU เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินวันละ 2,000 บาท
- ค่าห้องและค่าอาหาร เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินวันละ 700 บาท
- ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาล กรณีที่อยู่ในห้อง ICU เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินวันละ
4,500 บาท
- ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ทางสํานักงานประกันสังคมจะออกค่าใช้จ่ายให้
4. กรณีประสงค์จะทําหมัน ผู้ประกันตนสามารถเข้าทําหมันได้ ในโรงพยาบาลตามบัตร
รับรอง สิทธิการรักษาพยาบาลที่ผู้ประกันตนเลือกไว้ในสถานพยาบาลนั้นๆ โดยทางประกันสังคมจะจ่ายให้
ผู้ประกันตนชาย ไม่เกิน 500 บาทต่อราย ส่วนผู้ประกันตนหญิง จะจ่ายจริงไม่เกิน 1,000 บาทต่อราย
5. กรณีทันตกรรม ผู้ประกันตนสามารถยื่นเรื่องขอเบิกสิทธิประโยชน์กรณีทันตกรรมภายใน
ปี ที่เข้ารับบริการทางการแพทย์ได้ภายในระยะเวลา 1 ปี โดยนับตั้งแต่วันที่เข้ารับบริการทางการแพทย์ที่ ระบุ
ในใบรับรองแพทย์เป็นหลัก เช่น เมื่อผู้ประกันตนไปเข้ารับบริการถอนฟัน ในวันที่ 10 ธันวาคม 2556 สามารถ
ยื่นเรื่องขอเบิกได้ภายในระยะเวลา 1 ปี โดยนับตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2556 จนถึงวันที่ 10 ธันวาคม 2557
โดยเก็บหลักฐานในการเบิกค่าทําฟันได้แก่ 1) แบบคําขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีทันตกรรม (สปส.2-16) 2)
ใบรับรองแพทย์ 3) ใบเสร็จรับเงินรอให้สํานักงานประกันสังคม
6. กรณีคลอดบุตร ผู้ที่สามารถเบิกค่าคลอดบุตรในแต่ละครั้งได้ต้องเป็นผู้ที่จ่ายเงินสมทบ
ครบเดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร เช่น ผู้ประกันตนหญิงรายหนึ่งใช้สิทธิเบิกค่าคลอดบุตรคน
แรก ไปเมื่อ พ.ศ. 2547 หลังจากนั้นออกจากงานและได้กลับเข้ามาทํางานอีกครั้งเดือนธันวาคม พ.ศ.2559