Page 13 - pdffile_Classical
P. 13
3
ขณะเดียวกันก็พบว่า ประชากรที่อยู่ใต้เส้นความยากจน
มีจำนวนลดลงโดยลำดับ กล่าวคือ ลดลงจากประมาณ 22.1 ล้านคน เมื่อ พ.ศ. 2531
เหลือเพียง 5.1 ล้านคน ใน พ.ศ. 2553 คิดเป็นสัดส่วนลดลงกว่า 4 เท่า
การเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากรที่อยู่ใต้เส้นความยากจน
ระหว่าง พ.ศ. 2531 - 2553
หมายเหตุ : ข้อมูลจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สำนักงานสถิติแห่งชาติ,
ประมวลผลโดยสำนักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สศช.
ข้อมูล พ.ศ. 2550 ได้ปรับข้อมูลรายได้ที่บันทึกติดลบหรือขาดทุนให้เป็น 0 (ศูนย์)
ข้อมูล พ.ศ. 2553 ไม่มีการสำรวจด้านรายได้ของครัวเรือน
....................................................................................................................................
3 เส้นความยากจน (Poverty Line) เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความยากจนเชิงเศรษฐกิจหรือรายได้โดยวัดจากการขาดแคลน
รายได้ที่เพียงพอสำหรับบริโภคอาหารเพื่อการยังชีพและความต้องการสินค้าพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ซึ่งจะ
ปรับเปลี่ยนไปทุกปีตามสภาวะเศรษฐกิจ จากคำนิยามนี้ คนยากจน หมายถึง ผู้ที่มีรายได้ต่อคนต่อเดือนต่ำกว่า
เส้นความยากจน เช่น ใน พ.ศ. 2531 เส้นความยากจนอยู่ที่ระดับ 633 บาทต่อคนต่อเดือน พ.ศ. 2539 เพิ่มขึ้นเป็น 953 บาท
ต่อคนต่อเดือน พ.ศ. 2550 เพิ่มขึ้นเป็น 1,443 บาทต่อคนต่อเดือน และ พ.ศ. 2553 เพิ่มขึ้นเป็น 1,678 บาทต่อคนต่อเดือน
11