Page 14 - pdffile_Classical
P. 14

ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าสัดส่วนของประชากรที่อยู่ใต้เส้นความยากจนจะลดลงมาก

            แต่จำนวนตัวเลข 5  ล้านคนก็ยังเป็นตัวเลขที่สูงและผู้ที่อยู่เหนือเส้นระดับ
            ความยากจนแบบคาบเส้นก็มีความเสี่ยงที่จะตกไปอยู่ใต้เส้นความยากจนอีก
            ดังนั้น ปัญหาความยากจนจึงมิอาจกล่าวได้ว่าหมดไปจากประเทศไทย


            การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวข้างต้นส่งผลกระทบในหลายด้าน เช่น

            โครงสร้างพื้นฐานและสวัสดิการของรัฐที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการที่มากขึ้น
            โอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร การศึกษา และความมั่นคงทางอาชีพที่ไม่ทั่วถึง
            จนก่อให้เกิดช่องว่างทางสังคมและปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย ดังที่นักวิชาการ

            หลายท่านได้วิเคราะห์และจากรายงานของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ
            พ.ศ. 2550 ที่กล่าวว่ามีความไม่สมดุลเกิดขึ้นในหลายมิติ  ซึ่งอาจสรุปในเรื่อง
            ที่สำคัญๆ ได้ ดังนี้
       1

            ความไม่สมดุลด้านการกระจายรายได้

            โดยปกติแล้วในระยะเริ่มต้นของการพัฒนา รายได้ของประชาชนในประเทศ
            ที่กำลังพัฒนามักจะมีความแตกต่างกันสูงมาก แต่ในระยะต่อมาแนวโน้มดังกล่าว

            จะเปลี่ยนไป แต่สำหรับกรณีของประเทศไทยนั้น เป็นเวลาถึง 40 กว่าปีแล้ว
            ที่ความไม่เท่าเทียมกันของรายได้มีแนวโน้มที่กลับจะเพิ่มขึ้น ดังจะเห็นได้จากข้อมูล
            การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ

            พบว่า  กลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้สูงหรือกลุ่มคนรวยที่สุด 20  เปอร์เซ็นต์แรก
            มีสัดส่วนของรายได้ต่อรายได้ของคนทั้งประเทศเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 49.3

            เมื่อ พ.ศ. 2519 เป็นร้อยละ 54.9 ใน พ.ศ. 2551 ในขณะที่กลุ่มคนยากจนที่สุด
            ของประเทศ 20  เปอร์เซ็นต์หลัง มีสัดส่วนของรายได้ลดลงจากร้อยละ 6.1
            เหลือเพียงร้อยละ 4.4 ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยกลุ่มอาชีพที่ยากจนที่สุดเป็นกลุ่ม

            เกษตรกรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ












     12
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19