Page 16 - pdffile_Classical
P. 16

2
            ความไม่สมดุลในการใช้และการดูแล

            ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

            การมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตในอัตราสูง ทำให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ

            อย่างไม่คำนึงถึงขีดจำกัดเท่าที่ควร และยังทำให้ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ดิน
            แหล่งน้ำ ป่าไม้ และแร่ธาตุ ฯลฯ ที่เคยอุดมสมบูรณ์มีแนวโน้มร่อยหรอ และ

            เสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว

            นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเป็นรายสาขา

            พบว่า  สัดส่วนรายได้จากภาคเกษตรลดลงเป็นอย่างมาก  จากร้อยละ 45
            เมื่อ พ.ศ. 2494 เหลือเพียงร้อยละ 8 ใน พ.ศ. 2554 ขณะที่เมื่อเปรียบเทียบกับ
            ช่วงเวลาเดียวกัน สัดส่วนรายได้จากภาคอุตสาหกรรมปรับตัวในทิศทางตรงข้าม

            คือ เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากร้อยละ 15 เป็นร้อยละ 32 ส่วนรายได้จากภาคบริการ
            ยังคงมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 40 เป็นร้อยละ 60


            การขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรม
            และภาคบริการด้านการท่องเที่ยว ก่อให้เกิดปัญหามลพิษในด้านต่างๆ เช่น

            น้ำเน่าเสีย อากาศเสีย เสียงรบกวน กากของเสีย และสารอันตรายที่มีปริมาณ
            มากขึ้น ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนและชุมชนมากขึ้นตามลำดับ
       3

            ความไม่สมดุลของการพัฒนาเมืองและชนบท

            การเจริญเติบโตของเมืองโดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ทำให้เกิดการกระจุกตัว

            ของประชากร ซึ่งเกิดขึ้นจากการหลั่งไหลจากชนบทสู่เมืองเพื่อหวังหารายได้เพิ่มขึ้น
            เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างเขตมหานครและส่วนภูมิภาคที่มากขึ้น
            ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑลยังคงมีฐานเศรษฐกิจและอัตราการเจริญเติบโต

            ที่รวดเร็วกว่าภาคอื่นๆ ตัวอย่างเช่น ใน พ.ศ. 2532 มูลค่าของผลผลิตรวม
            ของกรุงเทพมหานครมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 42 ของผลผลิตรวมของประเทศ
            ในขณะที่ภาคอื่นๆ มีสัดส่วนลดลงตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน










     14
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21