Page 111 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 111

๙๓





                       เทคโนโลยี การเรียนการสอน โครงการอบรม การให้ความรู้นอกสถานที่ และการสร้างปฏิสัมพันธ์กับ
                                     ๖๙
                       รัฐและศาสนาอื่น
                                 ปัญหาที่ส าคัญอีกประการคือ ประเทศสิงคโปร์ไม่อนุญาตให้พระเดินบิณฑบาตเพราะผิด
                       กฎหมาย พระสงฆ์จะท าหน้าที่กวาดลานวัด ปัจจเวกคือการพิจารณา เป็นกิจกรรมปกติ และมี

                       กิจกรรมที่ต้องท า เช่น เสกพระ เสกน้ ามนต์ เนื่องจากชาวจีนเข้าวัด ชอบท าบุญหยอดตู้ เสร็จแล้ว

                       พระภิกษุต้องพรมน้ ามนต์ให้ ปัจจัยที่ได้รับจากการท าบุญต่าง ๆ จะใช้ส าหรับจ่ายค่าสาธารณูปโภค
                                                                                             ๗๐
                       (ค่าน้ าค่าไฟ) ค่าวัตถุดิบประกอบอาหาร (มีโรงครัว) เพราะไม่สามารถออกบิณฑบาตได้

                                 ๓.๕.๒  ทวีปยุโรป
                                     ๓.๕.๒.๑  ประเทศอังกฤษ

                                     ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ กรมการศาสนาได้ขออนุมัติคณะรัฐมนตรีจัดตั้งโครงการ
                       ฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ เพื่อปฏิบัติศาสนากิจในวัดที่จัดตั้งในต่างประเทศ

                       ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการให้กรมการศาสนา จัดตั้งส านักฝึกอบรมพระธรรมทูตไป

                                                                      ๗๑
                       ต่างประเทศ ภายใต้ความร่วมมือของฝ่ายสงฆ์ทั้งสองนิกาย  โดยมีวัตถุประสงค์ คือเพื่อเลือกเฟ้นและ
                       ฝึกอบรมพระสงฆ์ไทย ให้สามารถประกาศพระพุทธศาสนาในต่างประเทศ เพื่อเผยแผ่เกียรติคุณของ

                       ชาติไทย เพื่อสงเคราะห์ทางด้านจิตใจแก่คนไทยในต่างประเทศ และเพื่อให้เกิดศาสนสัมพันธ์อันดี

                       ระหว่างพุทธศาสนิกชนกับองค์การศาสนาอื่น

                                 พระพุทธศาสนา (Buddhism) เข้าสู่อังกฤษครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ โดย J.R. Jackson

                       เป็นผู้ก่อตั้งพุทธสมาคมในอังกฤษ และ Charles Henry Allen Bernett ผู้ซึ่งต่อมาบวชเป็นพระภิกษุ
                       ในพม่า มีฉายาว่า “อานันทเมตเตยยะ” เป็นพระภิกษุชาวอังกฤษคนแรก คณะสงฆ์ไทยส่งคณะ

                       พระธรรมทูตไปเผยแผ่ครั้งแรก เมื่อพ.ศ.๒๕๐๗ และได้สร้างวัดไทยชื่อ วัดพุทธปทีป ในกรุงลอนดอน
                       โดยเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา พระราชสิทธิมุนี (โชดก  าณสิทธิ

                       ป.ธ. ๙) และ พระมหาวิจิตร ติสฺสทตฺโต วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร ได้รับอาราธนา

                       เดินทางไปสอนวิปัสสนากรรมฐาน ณ พุทธวิหารแฮมสเตท กรุงลอนดอน โดยสังฆสมาคมแห่งประเทศ


                                 ๖๙  พระศรีรัตนโมลี (สมคิด สุรเตโช/เหลาฉลาด), รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์
                       ไทย ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์, “วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์” ปีที่ ๑๓ ฉบับพิเศษ เล่ม ๒ มิถุนายน
                       ๒๕๖๐, หน้า ๖.

                                 ๗๐  พระราชสิทธิวิเทศ, สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไข วัดไทยและคณะสงฆ์ไทยในสิงคโปร์และ
                       มาเลเซีย, พระมหาวิหาร พุทฺธญาโณ, บก., พระธรรมทูตสายต่างประเทศ รุ่นที่ ๗, (กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลง
                       กรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๔), หน้า ๑๐๑-๑๐๖.

                                 ๗๑  ส านักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต, ๒๕๕๐) [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:
                       www.tidga.net/component/content. [๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๑].
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116