Page 108 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 108

๙๐





                       เป็นเหตุให้มีการจัดตั้งองค์กรคณะสงฆ์เถรวาทในประเทศอินโดนีเซียขึ้น ๓ องค์กร คือคณะสงฆ์เถร
                       วาทอินโดนีเซีย (STI) คณะสงฆ์สังฆะอากุง (SAGIN) และคณะสงฆ์พระธรรมทูตไทย (STT)

                                 ด้านศาสนวัตถุ มีการสร้างวัด และสถานที่ส าหรับประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา
                       เพิ่มมากขึ้น และในด้านศาสนธรรม พุทธศาสนิกชนอินโดนีเซียมีความสนใจในค าสอนพระพุทธศาสนา

                       แบบเถรวาทมากแต่ยังเข้าใจไม่ชัดเจนนัก

                                 ด้านนโยบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พบว่าคณะสงฆ์ไทยยังไม่มีรูปแบบการเผยแผ่
                       พระพุทธศาสนาในประเทศอินโดนีเซียที่เหมาะสม พระธรรมทูตน ารูปแบบการเผยแผ่ในประเทศไทย

                       มาเป็นแนวทางในการเผยแผ่ซึ่งยังไม่สอดคล้องกับบริบททางวัฒนธรรมของประเทศอินโดนีเซีย
                       ส่วนพระธรรมทูตที่ผ่านการอบรมหลักสูตรพระธรรมทูตไปต่างประเทศยังขาดทักษะการแสดงธรรม

                       เป็นภาษาอินโดนีเซีย

                                 ในด้านการปฏิบัติงานเผยแผ่ พระธรรมทูตยังขาดรูปแบบการปฏิบัติงานเชิงรุก ในด้านการ
                       ขยายปริมาณพระสงฆ์ในอินโดนีเซีย นโยบายคณะสงฆ์ไทยยังไม่เอื้อต่อการขยายปริมาณพระธรรมทูต

                       ชาวไทยและพระธรรมทูตชาวอินโดนีเซีย

                                 ด้านการบริหารจัดการองค์กรพุทธศาสนิกชน พุทธศาสนิกชนอินโดนีเซียมีความศรัทธา
                       เข้มแข็งในการสนับสนุนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการจัดตั้งองค์กรชาวพุทธ แต่องค์กร

                                                                             ๖๐
                       พุทธศาสนิกชนอินโดนีเซียยังขาดเอกภาพในด้านการจัดการองค์กร
                                 จากการศึกษาจุดเด่น โอกาส จุดด้อยและอุปสรรคของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

                       ในประเทศอินโดนีเซีย พบว่า

                                 ปัจจัยจุดแข็งและโอกาส คือ พระสงฆ์ไทยได้รับการยอมรับและสนับสนุนในด้านอาคาร
                       สถานที่และการจัดกิจกรรมทางศาสนาจากพุทธศาสนิกชนอินโดนีเซีย การจัดกิจกรรมทาง

                       พระพุทธศาสนาที่มีความเข้มแข็งขององค์กรพระพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชนอินโดนีเซียมีความ
                       ศรัทธาเข้มแข็งในค าสอนของพระพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชนที่เป็นเยาวชนอินโดนีเซียมีความเข้มแข็ง

                       ในการด าเนินกิจกรรมเผยแผ่พระพุทธศาสนา การแผ่ขยายของพระพุทธศาสนาในกลุ่มชาวท้องถิ่น

                       และชาวจีนในประเทศอินโดนีเซีย รัฐบาลอินโดนีเซียส่งเสริมให้ทุกศาสนาเผยแผ่ค าสอนศาสนาได้
                       อย่างเสมอภาค วัฒนธรรมชาวอินโดนีเซียสอดคล้องกับคำสอนในพระพุทธศาสนา ชาวพุทธ

                       อินโดนีเซียมีความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีและสื่อสังคมออนไลน์

                                 ส่วนปัจจัยที่เป็นจุดอ่อนและอุปสรรคพบว่า โครงสร้างองค์กรการเผยแผ่พุทธศาสนายังไม่

                       ชัดเจน บุคลากรด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา (พระสงฆ์-ฆราวาส) ไม่เพียงพอ องค์กร


                                 ๖๐  ไพฑูรย์ ตรงเที่ยง, เกษมชาติ นเรศเสนีย์, และภาณุวัฒน์ ภักดีวงศ์, การเผยแผ่พระพุทธศาสนาใน

                       ประเทศอินโดนีเซีย : รูปแบบที่ควรจะเป็น, รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings) การ
                       นำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ ๑๗, หน้า ๗.
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113