Page 105 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 105
๘๗
วัดไทยสิริราชคฤห์ วัดไทยนาลันทา วัดไทยไวสาลี วัดไทยเชตวัน เป็นต้น ปัจจุบันรัฐบาลอินเดียให้
ความส าคัญกับพุทธศาสนามากขึ้น มีบุคคลต่าง ๆ ในวงราชการและการเมืองที่นับถือพุทธศาสนา
มีโครงการฟื้นฟูมหาวิทยาลัยนาลันทาให้กลับมาเป็นมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่เช่นในอดีต
รวมทั้งโครงการพัฒนาสังเวชนียสถานให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาในรัฐพิหาร รัฐอุตตร
ประเทศ และรัฐต่าง ๆ ในอินเดีย ซึ่งเป็นดินแดนต้นก าเนิดพุทธศาสนา ซึ่งมีส่วนส าคัญในการส่งเสริม
๕๔
การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของรัฐต่าง ๆ ดังกล่าว อย่างยิ่ง
วิธีการเผยแผ่ของพระธรรมทูตเป็นไปในลักษณะของเชิงรุก คือก้าวไปหาชุมชนและ สังคม
การเผยแผ่เชิงรุกของพระธรรมทูต โดยใช้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการสื่อสารในแบบต่าง ๆ ที่
มากกว่าการเทศน์ ประกอบด้วย การบรรยายน าแสวงบุญ การสนทนาธรรม การเขียนหนังสือ
การน า เสนอผ่านสื่อสิ่งพิมพ์และโทรทัศน์ การสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
งานสังคมสงเคราะห์ และงานศาสนสัมพันธ์ พระธรรมทูตที่ดีควรมีคุณสมบัติพระธรรมทูต กล่าวคือ
สิ่งที่พระธรรมทูตต้องมีถือเป็นคุณลักษณะพื้นฐานที่จ าเป็นต่อการปฏิบัติศาสนกิจในการเป็น
พระธรรมทูตในประเทศอินเดีย เนปาล ประกอบไปด้วย มีจริยาวัตรงดงาม ปณิธานแน่วแน่ มีองค์แห่ง
๕๕
พระธรรมกถึกและทักษะ ภาษาดี
ศาสนากิจในประเทศอินเดีย
พระธรรมทูตไทยสายประเทศอินเดีย-เนปาล ได้ปฏิบัติศาสนกิจ ดังนี้
๑) การสาธารณสงเคราะห์เพื่อมนุษยธรรม เป็นการสงเคราะห์แก่คนในพื้นถิ่นประเทศ
อินเดียและเนปาล โดยการจัดเป็นกองทุน มูลนิธิ จากผู้มีศรัทธาจากประเทศไทย และต่างประเทศ
ลักษณะโครงการสาธารณสงเคราะห์ประเภทนี้ ประกอบด้วย โรงพยาบาล ผ้าห่มศพ อุปกรณ์
การศึกษาแก่นักเรียน มอบของขวัญให้แก่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น สนับสนุนกีฬาท้องถิ่น
๒) การสาธารณสงเคราะห์เพื่อพระพุทธศาสนา เป็นการสงเคราะห์ให้ความช่วยเหลือ
ประชาชนพร้อมกับเผยแผ่พระพุทธศาสนาจัดอยู่ในรูปพิธีกรรมและความศรัทธาแก่ชาวพุทธผู้มาแสวง
บุญ มีศูนย์อ านวยการตั้งอยู่ที่วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ วัดไทยลุมพินี และวัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร
เพื่อเป็นศูนย์กลางรับบริจาคและจัดส่งไปให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในประเทศอินเดียและเนปาล
เป็นผู้ด าเนินการจ่ายแจกให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น การจัดโครงการสาธารณสงเคราะห์ประเภทนี้
๕๔ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี, ประวัติพุทธศาสนาในอินเดีย ๒๕๖๐, [ออนไลน์] แหล่งที่มา:
http://newdelhi.thaiembassy.org/th/useful-knowledgeth/pilgrimag-wat- thai-th/buddhism-history-
in-india-th. [๖ มิถุนายน ๒๕๖๐].
๕๕ พระครูนรนาถเจติยาภิรักษ์ (ชูศรี), สิริวัฒน์ ศรีเครือดง, ล าพอง กลมกลู, “รูปแบบการเผยแผ่
พระพุทธศาสนาเชิงรุกของพระธรรมทตู สายอินเดีย-เนปาลตามหลักพุทธจิตวิทยา”, วารสารมหาจฬุานาค
รทรรศน์ ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๑ (มกราคม – มีนาคม ๒๕๖๒): ๓๘๒.