Page 102 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 102
๘๔
การไปเผยแผ่ของพระภิกษุสงฆ์ไทยอย่างเป็นทางการในประเทศอินเดีย ในฐานะ
พระธรรมทูตไทย เริ่มต้นขึ้นเมื่อครั้งที่รัฐบาลอินเดียภายใต้การน าของ ฯพณฯ ศรีเยาวหราล เนรูห์
นายกรัฐมนตรี ได้จัดฉลองพุทธชยันตีขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ และได้เชิญประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่
นับถือพระพุทธศาสนารวมทั้งประเทศไทยให้ร่วมฉลองและสร้างวัดที่เมืองคยา รัฐบาลไทยได้ตอบรับ
ไปในนามของประชาชนชาวไทยที่นับถือพระพุทธศาสนา เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและเป็นอนุสรณ์การ
ฉลองครบรอบ ๒๕ พุทธศตวรรษ (๒๕๐๐ ปี) รัฐบาลไทย โดยการน าของจอมพล ป.พิบูลสงคราม
ได้ตกลงสร้างวัดไทย ภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙
ณ มณฑลพุทธคยา เมืองคยา รัฐพิหาร (Bodh-Gaya, Gaya District, Bihar State) บนเนื้อที่ ๔.๘๗
เอเคอร์ เป็นที่ดินที่รัฐบาลอินเดียจัดสรรให้สร้าง โดยให้เช่าระยะยาว ๙๙ ปี และต่อสัญญาได้คราวละ
๕๐ ปี ต่อมาเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๑๐ ได้ซื้อเพิ่มอีก ๒๐๐ ตารางวา โดยทุนอุปถัมภ์ของคุณหญิงละเอียด
พิบูลสงคราม รวมเป็น ๕ เอเคอร์ (๑๒ ไร่)
วัตถุประสงค์ของการสร้างวัดไทยพุทธคยานั้น ก็เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา ในโอกาส
ครบรอบ ๒๕ พุทธศตวรรษ และเพื่อเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในแดนพุทธภูมิ
อีกทั้งเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีไทย และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ และเพื่อ
รองรับพุทธศาสนิกชนที่เดินทางมาแสวงบุญ ณ สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในช่วงแรกเป้าหมาย
คือการเผยแผ่พระพุทธศาสนากลับสู่ชาวอินเดียดูจะมีความส าคัญเป็นอันดับต้น ๆ ดัง ในหนังสือ
“๕๐ ปี วัดไทยพุทธคยา อินเดีย” ระบุถึงเหตุผลเริ่มแรกที่รัฐบาลตกลงใจสร้างวัดไทยพุทธคยาและจัด
สมณทูตไปเผยแผ่ไว้ว่า
(๑) ประเทศอินเดียเป็นสถานที่ก าเนิดของพระพุทธศาสนา
(๒) ประเทศอินเดียมีประชาชนยังคงนับถือพระพุทธศาสนาเพียง ๑๘๑,๒๖๘ คน คิดเป็น
๐.๐๖ % ของประชากรทั้งประเทศ
(๓) ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่ชาวพุทธไทยควรได้สนองพระคุณน้อมเป็นพุทธบูชาโดย
๕๑
การจัดสงฆ์ “ปัญจวรรค” เป็นอย่างน้อยมาบ าเพ็ญสมณกิจอยู่ประจ า
วัดไทยพุทธคยาสร้างเสร็จระยะแรก พร้อมให้พระภิกษุสงฆ์ไปจ าพรรษาในปี พ.ศ.๒๕๐๒
พระธรรมทูตไทยชุดแรกที่รัฐบาลไทยคัดเลือกเป็นผู้แทนคณะสงฆ์และประชาชนไทย เพื่อปฏิบัติ
หน้าที่ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในดินแดนพุทธภูมิเรียกว่า “สังฆปัญจวรรค” หรือ “คณะปัญจวรรค”
มีจ านวน ๕ รูป ทุกรูปมีความรู้ภาษาอังกฤษที่สามารถสื่อสารงานเผยแผ่ได้ คณะปัญจวรรคมีลักษณะ
เหมือนปัญจวัคคีย์พุทธสาวกเมื่อครั้งพุทธกาล ในทางปฏิบัตินั้นคณะสงฆ์คงค านึงถึง จ านวนสงฆ์ครบ
๕๑ พระสมุทร ถาวรธมฺโม และคณะ, ๕๐ ปี วัดไทยพุทธคยา อินเดีย, (กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์
พริ้นติ้งแดนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๕๐), หน้า ๑๐๕.