Page 101 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 101

๘๓





                       เป็นครั้งแรกคือพระอุบาลีและคณะที่สามารถช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองและท าให้ชาว
                       ลังกาเกิดความเลื่อมใสศรัทธาอย่างมั่นคงจนสามารถประดิษฐานนิกายสยามวงศ์ขึ้นในลังกาจนถึง

                       ปัจจุบันนี้ พระอุบาลีและคณะพระเถระที่เดินทางไปครั้งนั้นนอกจากจะได้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาได้
                       ส าเร็จแล้ว ยังได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ ผลงานของท่านเหล่านั้นถูกบันทึกไว้ในหน้า

                       ประวัติศาสตร์ของโลก ตามประวัติแสดงว่าคณะพระธรรมทูตชุดนี้มีการท างานกันเป็นทีม แบ่งหน้าที่

                       ในการสอนกันคนละด้านตามที่ตนถนัด ไม่ว่าจะเป็น ด้านพิธีกรรม พระวินัย การสวดมนต์ การศึกษา
                       พระไตรปิฎกและคัมภีร์ หรือการฝึกกรรมฐาน เป็นต้น จึงเป็นผลให้การเผยแผ่ส าเร็จได้อย่างดี


                                 สถานการณ์พระพุทธศาสนาในศรีลังกามีความเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมถอยลงแตกต่างกัน
                       ไปในแต่ละยุคสมัย โดยขึ้นอยู่กับการอุปถัมภ์บ ารุงของพระมหากษัตริย์และเหตุการณ์ทางการเมือง

                       การปกครอง จึงกล่าวได้ว่าความมั่นคงของพระพุทธศาสนาในศรีลังกาเปลี่ยนแปลงไปตามอ านาจ
                       ทางการปกครอง อย่างไรก็ดี พระสงฆ์ในศรีลังกามิได้มีบทบาทเพียงแค่ธ ารงรักษาพระพุทธศาสนา

                       เพียงอย่างเดียว แต่พระสงฆ์ยังเป็นที่ปรึกษาของรัฐบาล อีกทั้งมีสิทธิทางการเมืองเช่นเดียวกับคฤหัสถ์

                       สิทธิเลือกตั้งและมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งในปัจจุบันมีพระสงฆ์ศรีลังกา
                                                  ๔๙
                       เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วย

                                 ปัจจุบันศรีลังกามีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจ าชาติ เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ
                       มีกระทรวงพระพุทธศาสนาเพื่อดูแลกิจการพระพุทธศาสนา ในส่วนของการบริหารองค์กรสงฆ์

                       ศรีลังกา มีหน่วยงานระดับกระทรวงดูแล การจัดตั้งกระทรวงพระพุทธศาสนาขึ้นมาจุดประสงค์หลัก

                       คือปกป้องพระพุทธศาสนาทุกนิกายมี พระมหานายกะของตนเอง ถือว่าเป็นประเทศที่มีประชากรนับ
                                                                 ๕๐
                       ถือพระพุทธศาสนาเถรวาทจ านวนมากประเทศหนึ่ง

                                     ๓.๕.๑.๒  ประเทศอินเดีย
                                     การเดินทางไปอินเดียอย่างเป็นทางการครั้งแรกของภิกษุสามเณรไทยเกิดขึ้นในปี

                       พ.ศ. ๒๔๙๖ เมื่อครั้งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) ได้ส่งภิกษุสามเณรไทยรุ่นแรกไป
                       ศึกษาพระพุทธศาสนาและวิปัสสนายังประเทศ พม่า ศรีลังกา และอินเดีย แม้ก่อนหน้านี้จะมีภิกษุ

                       สามเณรไทยเดินทางไปอินเดียบ้างแล้ว เช่นในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ที่พระโลกนาถ พระภิกษุชาวอิตาเลี่ยน

                       ได้พาภิกษุสามเณรไทยไปศึกษาและเผยแผ่ในอินเดียก็ตาม แต่ก็จัดเป็นเฉพาะกลุ่มบุคคล ไม่ได้ไป
                       ในนามของคณะสงฆ์หรือการอุปถัมภ์ของพระเถระผู้ใหญ่



                                 ๔๙  บรรจง โสดาดี, การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในทวีปเอเชีย, หน้า ๗.[ออนไลน์].
                       แหล่งที่มา: http://www www.mcutac.com [๑๓ เมษายน ๒๕๖๒].

                                 ๕๐  มองพระพุทธศาสนาในศรีลังกาและเกาหลีใต้สะท้อนปัญหาพระพุทธศาสนาไทย, [ออนไลน์].
                       แหล่งที่มา: http://www cybervanaram.net [๑๓ เมษายน ๒๕๖๒].
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106