Page 96 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 96

๗๘





                       วินัย และมีความตั้งใจที่จะเป็นพระธรรมทูต คือทูตแห่งธรรม น าพระธรรมค าสั่งสอนของพระบรม
                       ศาสดาไปเผยแผ่แก่ชาวต่างประเทศให้ได้รับแสงสว่างแห่งธรรมอันพระบรมศาสดาตรัสไว้ดีแล้ว โดยให้

                                        ๓๔
                       สมควรแก่การปฏิบัติ
                                 พระพรหมวชิรญาณ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร) กล่าวว่า พระธรรมทูตเป็นผู้มีบทบาทส าคัญใน

                       การเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพราะเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายจากคณะสงฆ์ให้จาริกไปสู่ที่ต่าง ๆ ทั้งใกล้

                       และไกล ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อน าหลักธรรมค าสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเข้าไปสู่
                       จิตใจของประชาชน โดยเฉพาะพระธรรมทูตสายต่างประเทศนั้น เป็นพระภิกษุสงฆ์ผู้ผ่านการฝึกอบรม

                       ความรู้ความสามารถในงานด้านเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศอย่างเคร่งครัด เพื่อสามารถ
                       ประกาศพระพุทธศาสนาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจนเป็นที่แพร่หลายในนานา

                                  ๓๕
                       อารยประเทศ
                                 กล่าวโดยสรุป การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตสายต่างประเทศคือ การท าให้

                       พระพุทธศาสนาขยายออกไป กล่าวคือการขยายพระพุทธศาสนาซึ่งครอบคลุมถึงพระธรรมค าสอน

                       ของพระพุทธเจ้าให้ออกไปสู่ชนจ านวนมาก ให้ได้รับประโยชน์มากที่สุดด้วยหลักประโยชน์ ๓ อย่าง
                       การประกาศพระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตสายต่างประเทศโดยยึดหลักประโยชน์และความสุขของ

                       มหาชนเป็นที่ตั้งถือเป็นวัตถุประสงค์หลักในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นเครื่องชี้ชัดถึงบทบาท

                       ส าคัญของการสื่อหลักธรรมในพระพุทธศาสนา โดยเป็นหลักการและนโยบายในการเผยแผ่
                       พระพุทธศาสนาของเหล่าพุทธสาวกจนตราบเท่าปัจจุบันนี้


                                 ๓.๔.๒  วิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูต
                                 การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูต ควรมีวิธีการ กระบวนการและเนื้อหา

                       ดังต่อไปนี้
                                 ๑. วิธีการที่ใช้ในการเผยแผ่ ในการเผยแผ่หรือประกาศพระพุทธศาสนานั้น พระพุทธ

                       องค์รวมถึงพระสาวกได้แสดงรูปแบบหรือวิธีการไว้มากมาย ซึ่งพระธรรมทูตสามารถเลือกรูปแบบที่

                       เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟัง โดยต้องวิเคราะห์ผู้ฟังว่าเหมาะสมกับพุทธวิธี ลีลาการสอนและหลักการสอน
                       แบบใด ในปัจจุบันการเผยแผ่พระธรรมค าสอนมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปโดยมีสื่อที่ช่วยให้การเผยแผ่

                       มีความรวดเร็วมากขึ้น ดังนั้น พระธรรมทูตต้องพิจารณาว่าจะใช้สื่อแบบใดที่เหมาะสมกับความ
                       ต้องการของผู้ฟัง และช่องทางการสื่อสารใดที่ทันยุคทันสมัย สะดวกและง่ายต่อการเข้าถึง ในวิธีการ




                                 ๓๔  อ้างในกองบรรณาธิการ คณะพระธรรมทูตรุ่นที่ ๑๑, พระธรรมทูตสายต่างประเทศ รุ่นที่ ๑๑,
                       (กรุงเทพมหานคร: โมชั่น พรีเพรส, ๒๕๔๘),

                                 ๓๕  อ้างในกองบรรณาธิการ คณะพระธรรมทูตรุ่นที่ ๑๕, พระธรรมทูตสายต่างประเทศ รุ่นที่ ๑๕,
                       (กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๕๒), หน้า อนุโมทนากถา.
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101