Page 93 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 93

๗๕





                              ๒๗
                       ทางการ  จนมาถึง พ.ศ. ๒๕๐๗ กรมการศาสนา โดยพันเอก ปิ่น มุทุกันต์ อธิบดีกรมการศาสนา
                                ๒๘
                       ในเวลานั้น  ได้ฟื้นฟูงานพระธรรมทูตขึ้นด้วยการจัดตั้งโครงการพระธรรมทูตขึ้นมา และได้ทดลอง
                       ด าเนินงานโดยอาราธนาพระเถระผู้ใหญ่เป็นหัวหน้าคณะอ านวยการ จัดส่งพระสงฆ์ออกจาริกประกาศ
                       พระศาสนาในถิ่นต่าง ๆ ต่อมามหาเถรสมาคม มีมติให้รับงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในรูปแบบของ

                       พระธรรมทูตเป็นกิจกรรมถาวร โดยตั้งเป็นกองงานพระธรรมทูตขึ้น ด าเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๙

                       เป็นล าดับมา มีฐานะเทียบเท่ากองธรรมสนามหลวงและกองบาลีสนามหลวง โดยมอบหมายให้
                       สมเด็จพระวันรัต (ปุ่น) เป็นแม่กองงานพระธรรมทูต สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์) เป็นรองแม่กอง

                       งาน  พระธรรมทูตรูปที่ ๑ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ธีร์) เป็นรองแม่กองงานพระธรรมทูตรูปที่ ๒ ชุด
                       แรก หลังจากนั้นมีพระเถระผลัดกันเข้ามาท าหน้าที่แม่กองงานและรองแม่กองงานอีกหลายรูป

                       ปัจจุบันหลังจากสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโ ) ได้ลาออกจากต าแหน่งแม่กองงาน

                       เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ มหาเถรสมาคมได้มีมติมอบให้สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร)
                       เป็นแม่กองพระธรรมทูต พระวิสุทธิวงศาจารย์ (วิเชียร อโนมคุโณ) เป็นรองแม่กองงานพระธรรมทูต

                       รูปที่ ๑ และ พระพรหมมุนี (สุชิน อคฺคชิโน) เป็นรองแม่กองงานพระธรรมทูตรูปที่ ๒

                                 การบริหารงานพระธรรมทูต ได้แผ่ขยายขอบข่ายงานเป็นหลายฝ่าย แต่ยังขาดระเบียบที่
                       จะให้พระธรรมทูตได้ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติ จนเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๔ โดยค าสั่งแม่กองงานพระธรรมทูต

                       ได้ตั้งคณะท างานเพื่อด าเนินการเป็น ๒ คณะ ซึ่งคณะท างานชุดแรกเรียกว่าคณะท างานปรับปรุงงาน
                       พระธรรมทูต ส่วนคณะท างานชุดที่ ๒ เรียกว่า คณะท างานพิจารณาร่างระเบียบกองงานพระธรรมทูต

                       ซึ่งคณะท างานชุดที่ ๒ นี้ ได้พิจารณากลั่นกรองระเบียบดังกล่าวเพื่อน าไปใช้ปรับปรุงงานพระธรรมทูต

                       ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน การบริหารงานพระธรรมทูตในประเทศไทยจึงได้ถือ “ระเบียบ
                       กองงานพระธรรมทูต” เป็นหลักปฏิบัติสืบมา ตามระเบียบนี้ได้แบ่งส่วนงานพระธรรมทูตในประเทศ

                       เป็น ๙ สาย และให้มีส านักงานพระธรรมทูตสายละ ๑ แห่งตั้งอยู่ ณ วัดซึ่งหัวหน้าพระธรรมทูตแต่ละ
                       สายก าหนด หัวหน้าพระธรรมทูตต้องจัดส่งพระธรรมทูตฝ่ายปฏิบัติการออกไปปฏิบัติงานตามแผน

                       ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี แล้วท าการประเมินผลและสรุปเสนอกองงาน






                                 ๒๗  ศูนย์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ, แผนแม่บทการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๕๔-
                       ๒๕๕๙, หน้า ๑๖-๑๗.

                                 ๒๘  พันเอก ปิ่น มุทุกันต์ ได้เสนอแผนงานโครงการพระธรรมทูตต่อรัฐบาลและมหาเถรสมาคม ด้วยหวัง
                       ว่าโครงการพระธรรมทูตนี้จะสามารถแก้ไขปัญหาความแตกแยกทางความคิดกันอย่างรุนแรงของประชาชนระหว่าง
                       ฝ่ายสนับสนุนโลกเสรีกับฝ่ายสนับสนุนคอมมิวนิสต์ที่เกิดขึ้นในเวลานั้นได้, พระธรรมวรนายก, (โอภาส นิรุตติเมธี)

                       “ประวัติและพัฒนาการของพระธรรมทูต”, พระธรรมทูตสายต่างประเทศรุ่นที่ ๑๕, (กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬา
                       ลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๒), หน้า ๒๖๘-๒๖๙.
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98