Page 92 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 92
๗๔
พื้นฐานน าไปสู่การปฏิบัติตลอดจนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กว้างไกลออกไป (มีการอ านวยการ
สอบสนามหลวงในต่างประเทศด้วย)
๓) การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้านการฝึกสอนและสอบบาลี การศึกษาไม่ว่าในเรื่องใด
ก็ตามย่อมก่อให้เกิดประโยชน์มากมายแก่ผู้ศึกษาเรียนรู้ เป็นการพัฒนาปัญญาของบุคคลให้แจ่มแจ้ง
ชัดเจน และกว้างไกล เพื่อการรับรู้และน าไปใช้ประโยชน์ยิ่งขึ้นไป
๔) พระธรรมทูต งานพระธรรมทูตเป็นงานของคณะสงฆ์ไทย ที่เริ่มด าเนินการอย่างเป็น
ทางการมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ วัตถุประสงค์เพื่อน าหลักธรรมค าสอนทางพระพุทธศาสนาไป
เผยแผ่แก่ประชาชน เป็นการปลูกฝังพัฒนาจิตใจของประชาชนให้ยึดมั่นในหลักธรรม โดยยึดหลัก
ปฏิบัติตามพระด ารัสที่พระพุทธเจ้าได้ประทานแก่พระสงฆ์สาวก ๖๐ รูป ก่อนจะทรงส่งไปประกาศ
พระพุทธศาสนาครั้งแรก
๕) ส านักปฏิบัติธรรมประจ าจังหวัดที่จัดตั้งตามระเบียบมหาเถรสมาคม ว่าด้วยการจัดตั้ง
ส านักปฏิบัติธรรมประจ าจังหวัด พุทธศักราช ๒๕๔๓ ท าหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาด้านวิปัสสนา
ธุระ เป็นการฝึกสั่งสอนให้ประชาชนได้ฝึกปฏิบัติเรียนรู้และน าหลักธรรมค าสั่งสอนมา สู่กระบวนการ
ภาคปฏิบัติด้วยการเจริญสมถกัมมัฏฐาน คือการฝึกจิตให้เกิดปัญญา รู้แจ้งในสภาวธรรมตามสภาพ
ความเป็นจริง เพื่อดับกิเลสให้หมดสิ้นไป คือนิพพาน ที่เป็นจุดมุ่งหมายอันสูงสุดในทาง
พระพุทธศาสนา ที่พุทธบริษัททั้งหลายจะต้องพยายามเข้าให้ถึงให้จงได้
๖) วัดพระสังฆาธิการทุกระดับชั้น และพระภิกษุทุกรูป มีภาระหน้าที่ในการเผยแผ่
พระพุทธศาสนาโดยเฉพาะเจ้าอาวาส ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดย
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้บัญญัติให้เจ้าอาวาสมีภาระหน้าที่ในการให้
๒๖
การศึกษา ฝึกอบรมสั่งสอนเผยแผ่หลักพระธรรมวินัยทั้งแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์
๓.๓.๒ ด้านพระธรรมทูต
การจัดส่งพระธรรมทูตไปเผยแผ่แก่ประชาชนในพื้นที่เป้าหมายต่าง ๆ นั้น คณะสงฆ์ได้
ด าเนินการมานานแล้ว แต่เป็นไปตามสถานการณ์ที่จ าเป็นและตามความเสียสละของภิกษุแต่ละรูป
โดยอยู่ในการก ากับดูแลขององค์การเผยแผ่ ตามพ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ ต่อมาถึง พ.ศ. ๒๕๐๕
ได้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ฉบับใหม่ ท าให้ในระยะ ๒ ปีแรก งานพระธรรมทูตได้สะดุดหยุด
ลงเป็นบางส่วน แต่ยังมีพระสงฆ์ด าเนินการอยู่บ้าง โดยใช้ชื่อนักเผยแผ่บ้าง พระธรรมจาริกบ้าง
ต่างรูปต่างท าไปตามความศรัทธาเป็นที่ตั้งจึงยังไม่เป็นเอกภาพ ทั้งยังไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเป็น
๒๖ วิศิษฏ์ พงศ์พัฒนจิต, คู่มือการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ส านักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ,
(กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพการศาสนา, ๒๕๔๖), หน้า ๒๑ – ๒๔.