Page 97 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 97
๗๙
เผยแผ่ ควรผลิตบุคลากรที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสม ควรสร้างสถานที่ส าหรับปฏิบัติธรรมที่เหมาะสมกับ
วิถีชีวิตของชาวตะวันตก ควรผลิตสื่อที่เหมาะสมกับความต้องการของชาวตะวันตก
๒. เนื้อหาค าสอน ควรเน้นหลักธรรมที่เป็นเหตุผลร่วมพิสูจน์ได้ในปัจจุบัน หลีกเลี่ยง
หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยหลักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน
และไม่ควรโจมตีแนวค าสอนของความเชื่ออื่น ๆ
เนื้อหาของเรื่องที่น ามาเผยแผ่ตามแนวทางแห่งพุทธะ มี ๕ ประการ คือ
(๑) สัจจะ ได้แก่ เรื่องที่เสนอต่อมวลชนนั้นต้องเป็นเรื่องจริง เสนอตามความเป็นจริงไม่
บิดเบือน
(๒) ตถตา เรื่องแท้ เรื่องที่เสนอหรือส่งสารนั้นต้องเป็นเรื่องแท้ เสนอตามสภาพที่แท้จริง
ไม่คาดเดา ไม่แต่งแต้ม
(๓) กาละ เรื่องที่เสนอนั้นต้องเหมาะสมกับกาลเวลา
(๔) ปิยะ เรื่องที่เสนอนั้นเป็นเรื่องที่คนชอบ หรือเสนอโดยวิธีที่ผู้รับสารชื่นชอบ
(๕) อัตถะ เรื่องที่เสนอหรือส่งสารนั้นต้องเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม แต่ในบางครั้งบาง
สถานการณ์ผู้ส่งสารอาจต้องพิจารณาด้วยปัญญาว่า บางเรื่องอาจไม่เหมาะกับเวลา อาจจะไม่เป็นที่
ชอบใจของคนบางกลุ่มบางคน แต่เมื่อเสนอเรื่องนั้นไปแล้วเกิดประโยชน์ต่อมหาชน ผู้ส่งสารอาจ
๓๖
จะต้องกระท าหรือควรกระท า
กล่าวโดยสรุป การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตสายต่างประเทศในปัจจุบันนี้
ควรมีเป้าหมายที่ชัดเจน กล่าวคือ ไม่ควรใช้วิธีเทศน์อย่างเดียว ควรเปิดโอกาสให้ผู้สงสัยได้ซักถาม
และอธิบายให้ผู้ฟังคลายความสงสัยและได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างแจ่มแจ้ง เป็นการประเมินผลไปในตัว
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ชาวต่างประเทศจะต้องมีการศึกษาเรียนรู้ด้านภาษา มีปฏิภาณ
ปฏิสัมภิทาปัญญาอันแตกฉาน คือ ไหวพริบในการที่จะโต้ตอบโดยฉับพลันและความรู้ต้องแน่นและ
พร้อม ธรรมะที่เรียนไปและมีประโยชน์มากที่สุดในปัจจุบันคือความรู้ด้านการเจริญกรรมฐาน
เป็นที่สนใจของชาวต่างประเทศมาก เพราะฉะนั้น การมีความรู้พร้อมทั้งทางด้านปริยัติและปฏิบัติ
เป็นสิ่งที่ดีจะได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ หากมีความรู้ด้านปริยัติเพียงอย่างเดียวจะได้รับความ
สนใจจากคนบางกลุ่มเท่านั้น คนที่ปฏิบัติได้แต่อธิบายไม่ได้ ก็เป็นเรื่องที่ยากต่อการเผยแผ่ให้คนอื่นได้
รู้วิธีการและผลแห่งการปฏิบัติ พระธรรมทูตที่จะไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศปัจจุบัน
จะต้องพยายามสร้างความสัมพันธ์กับทุกศาสนาในประเทศนั้น ๆ ถือเป็นคุณสมบัติส าคัญของ
พระธรรมทูต ที่จะต้องมีความมั่นใจในคุณค่าความดีงาม รู้เข้าใจปัญหาและความต้องการของถิ่นฐานที่
๓๖ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น, คู่มืออบรมนักเทศน์, (ขอนแก่น:
คลังนานาวิทยา, ๒๕๔๕), หน้า ๔๗-๔๘.