Page 100 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 100

๘๒





                       สองมาผลัดเปลี่ยนกับชุดแรก แต่กว่าจะเดินทางมาถึงก็กินเวลานานเพราะได้เกิดเหตุเรืออับปางและ
                       อุปสรรคหลายประการท าให้ภิกษุ ๔ รูป และสามเณร ๒ รูปสูญหายไป ส่วนพระอุบาลีนั้นท่านได้

                       มรณภาพลงเสียก่อนที่สมณทูตชุดที่สองจะไปถึง คณะสงฆ์ชุดที่สองของสยาม ได้อยู่ในลังกาเป็นเวลา
                       ๔ ปี ระหว่างนั้นได้เดินทางไปฟื้นฟูอารามและท าอุโบสถในท้องที่ชนบทจนท าให้พระสงฆ์ในที่ห่างไกล

                       สามารถท ากิจตามพระวินัยได้ และท าการฟื้นฟูรูปแบบของธรรมเนียมสงฆ์เดิมขึ้นมา รวมถึงฟื้นฟู

                       ระบบของวิปัสสนาภาวนาที่ได้เสื่อมสูญไปให้กลับมีขึ้นมา อีกทั้งรูปแบบการสวดพระปริตรที่ได้ล้มเลิก
                       มานานจนพระสงฆ์ลังกาไม่สามารถสวดได้ ก็ได้พระสงฆ์สยามเข้าไปฟื้นฟูให้ นอกจากนี้การเดินทางมา

                                                                                              ๔๕
                       ลังกาของพระสงฆ์สยามชุดที่สองนี้ ยังได้น าคัมภีร์ที่ยังไม่มีในลังกาถึง ๙๗ คัมภีร์มาด้วย  จึงเป็นการ
                       น าพระบาลีกลับสู่ลังกาอีกครั้ง หลังจากถูกท าลายสูญหายไปอย่างมากในช่วงบ้านเมืองระส่ าระสาย


                                 เรื่องส าคัญอีกเรื่องหนึ่งในสถานการณ์ของพระพุทธศาสนาในลังกาที่ควรกล่าวถึง คือการ
                       เกิดขึ้นของกฎหมายคณะสงฆ์ สืบเนื่องจากเหล่าภิกษุที่มีอยู่แต่เดิมในท้องถิ่น ต่างเห็นว่าสงฆ์ในนิกาย

                       สยามได้รับศรัทธาจากสาธุชน จึงพากันมาขอบวชใหม่เข้านิกายสยามวงศ์ แต่เมื่อกลับไปยังถิ่นฐาน

                       กลับประพฤติผิดแบบเดิม ๆ คือ ท าไร่ท าสวน ประกอบอาชีพ เป็นหมอดู หมอเสน่ห์ เป็นต้น ดังนั้นใน
                       ปี พ.ศ. ๒๒๙๖ พระเจ้าแผ่นดินลังกาจึงประกาศกฎหมายคณะสงฆ์ออกใช้เรียกว่า กฎหมายคณะสงฆ์

                       ฉบับกิตติศิริราชสิงห์ ฉบับที่ ๑ มีทั้งหมด ๑๒๐ ข้อ ว่าด้วยเรื่องการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาในลังกา

                       การปกครองดูแลลูกศิษย์ การอุปสมบท การดูแลทรัพย์สินของวัด การประพฤติตามพระธรรมวินัย
                       ห้ามภิกษุประกอบอาชีพ เป็นต้น และได้ทรงตั้งต าแหน่งพระมหานายกะ ขึ้นสองต าแหน่ง

                                                                                ๔๖
                       เพื่อปกครองสงฆ์ที่แต่ละฝ่ายคือ คามวาสีมัลวัตตุ และ อรัญวาสีอัศคิริ  นับเป็นสมัยที่เกิดระบบการ
                       ปกครองสงฆ์ที่มีระเบียบแบบแผนอย่างชัดเจนขึ้นในลังกาเป็นครั้งแรก ต่อมาสมัยพระเจ้าราชาธิราช

                       สิงห์ ในปี พ.ศ. ๒๓๓๐ ได้ออกกฎหมายคณะสงฆ์อีกฉบับหนึ่งชื่อว่า ฉบับราชาธิราชสิงห์ มีทั้งหมด

                       ๒๖ ข้อ ว่าด้วยเรื่องสังฆกรรม เป็นต้น และทรงแต่งตั้งต าแหน่งอนุนายกะขึ้นมาอีกต าแหน่งหนึ่ง
                       ซึ่งยังถือปฏิบัติในคณะสงฆ์ลังกามาจนถึงทุกวันนี้  ในด้านสมณศักดิ์สงฆ์นี้ไม่เคยมีในอินเดีย ลังกา
                                                                ๔๗
                                ๔๘
                       เป็นผู้คิดขึ้น  และได้เป็นต้นแบบแก่คณะสงฆ์ในประเทศแถบเอเชียอาคเนย์ต่อมา
                                 การน าเสนอสถานการณ์เรื่องราวพระพุทธศาสนาในประเทศลังกามาในเบื้องต้นนั้น

                       จะเห็นถึงบทบาทของพระธรรมทูตต้นแบบในประวัติศาสตร์ไทยที่เดินทางไปเผยแผ่ยังต่างประเทศ




                                 ๔๕  เรื่องเดียวกัน, หน้า ๔๔.
                                 ๔๖  สยาม แสนขัติ, สยามวงศ์ในลังกา, หน้า ๕๐-๕๑.
                                 ๔๗  เรื่องเดียวกัน, หน้า ๘๒.

                                 ๔๘  เสถียร โพธินันทะ, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ฉบับมุขปาฐะ ภาค ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๓,
                       (กรุงเทพมหานคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐), หน้า ๑๔๔.
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105