Page 99 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 99
๘๑
ครั้งในปี พ.ศ. ๒๒๙๐ แต่โชคก็ยังไม่เข้าข้างลังกาอีก เนื่องจากระหว่างที่ราชทูตรีรอเพื่อดูลาดเลา
ความเป็นไปของกรุงสยามอยู่นั้น ก็ได้ทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าศรีวิชัยเสียก่อน ราชทูต
๓๘
จึงตัดสินใจเดินทางกลับไปลังกา
พระเจ้าเกียรติศิริราชสิงหะทรงครองราชย์ต่อมาและส่งราชทูตไปยังกรุงสยามอีกครั้ง
๓๙
ครั้งนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ทรงโปรดให้พระอุบาลีและคณะเดินทางไปยังลังกา แต่กว่าที่คณะ
สงฆ์จากสยามจะเดินทางถึงลังกาได้ก็ประสบปัญหามากมาย ด้วยเรือก าปั่นหลวงไปเสียที่เมือง
นครศรีธรรมราช พระอุบาลีและคณะทูตต้องกลับมารอที่กรุงศรีอยุธยาอีกหลายเดือน จนในที่สุด
มีพ่อค้าชาวฮอลันดามาถึงกรุงศรีอยุธยาทราบวัตถุประสงค์จึงอาสาพาคณะพระอุบาลีไปส่งถึงลังกา
๔๐
เมื่อเวลาที่คณะสมณทูตสยามเดินทางถึงลังกา เข้าสู่เมืองหลวงแคนดี้เป็นวันเพ็ญเดือน ๘ พ.ศ.
๔๑
๒๒๙๕ คณะสงฆ์ไทยได้ท าการบวชกุลบุตรชาวลังกา สามเณรสรณังกรก็ได้รับการอุปสมบทด้วย
ซึ่งขณะนั้นมีอายุ ๕๕ ปีแล้ว ภายหลังท่านได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชรูปแรกของนิกายสยามวงศ์แห่ง
๔๒
ลังกา เหตุที่คณะสมณทูตสยามได้ไปช่วยเหลือสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาในลังกาเช่นนี้ เปรียบเสมือน
การชุบชีวิตพระพุทธศาสนาในลังกาขึ้นมาใหม่ ชาวลังกาจึงเรียกคณะสงฆ์ที่ได้รับการอุปสมบทจาก
๔๓
สมณทูตสยามว่า “สยาโมปาลีวังสิกะ มหาวิหาร” ซึ่งเป็นที่มาของพระสงฆ์นิกายสยามวงศ์ในลังกา
พระพุทธศาสนาในลังกากลับรุ่งเรืองขึ้นอีกครั้ง กุลบุตรชาวลังกาเข้ามาบวชเรียนมากมาย
คณะสงฆ์สยามได้ถ่ายทอดความรู้ตามความถนัดที่แต่ละท่านมีแตกต่างกันไป เช่น พระอริยมุนีช านาญ
ในพระไตรปิฎก พระมหาบุญด้านวิปัสสนา พระพรหมโชติเรื่องบทสวด นอกจากนี้พระภิกษุสยามยัง
ได้สอนภาษาขอมให้แก่กุลบุตรสิงหลที่เข้ามาบวชด้วย เพื่อจะได้อ่านคัมภีร์ต่าง ๆ ที่เขียนเป็นภาษา
ขอมที่สมณทูตน าไปได้ จนเวลาผ่านมาได้สามปี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ทรงส่งคณะสงฆ์ชุดที่
๔๔
๓๘ ชูศักดิ์ ทิพย์เกษร, พระพุทธศาสนาในศรีลังกา, พิมพ์ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร: เชน ปริ้นติ้ง,
๒๕๕๑), หน้า ๖๒.
๓๙ สมเด็จกรมพระยาด ารงราชานุภาพ, เรื่องประดิษฐานพระสงฆ์สยามวงศ์ในลังกาทวีป, หน้า
๑๒๕.
๔๐ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๙๕.
๔๑ ดนัย ปรีชาเพิ่มประสิทธิ์, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา, (กรุงเทพมหานคร:
สามลดา, ๒๕๕๕), หน้า ๔๕๙.
๔๒ ชูศักดิ์ ทิพย์เกษร, พระพุทธศาสนาในศรีลังกา, หน้า ๖๑.
๔๓ A.H. Mirando, Buddhism in Sri Lanka in the 17th and 18th Centuries, (Srilanka:Tisara
Prakashakayo, 1985), p.31, อ้างใน สยาม แสนขัติ, สยามวงศ์ในลังกา, พิมพ์ครั้งที่ ๔, (กรุงเทพมหานคร:
สหธรรมิก, ๒๕๔๙), หน้า ๘๔.
๔๔ คุณรัตนะ ปะนะโบกเก, ประวัติความเปลี่ยนแปลงของวัดพุทธศาสนาในลังกา, หน้า ๔๕๕, อ้าง
ใน สยาม แสนขัติ, สยามวงศ์ในลังกา, พิมพ์ครั้งที่ ๔, (กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก, ๒๕๔๙), หน้า ๘๕.