Page 94 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 94

๗๖





                       พระธรรมทูตภายในเดือนกันยายน เป้าหมายด้านจ านวนคือการมีพระธรรมทูตปฏิบัติงานประจ าอยู่ใน
                                         ๒๙
                       ท้องถิ่นต าบลละ ๑ รูป

                       ๓.๔  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตสายต่างประเทศ

                                 ๓.๔.๑  หลักการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตสายต่างประเทศ

                                 ภารกิจหลักของพระธรรมทูตสายต่างประเทศโดยตรงคือต้องมีหลักการเผยแผ่
                       พระพุทธศาสนา กล่าวคือ การด าเนินงานเพื่อให้หลักธรรมค าสั่งสอนในพระพุทธศาสนาแพร่หลาย

                       ออกไปในทุกสารทิศ มีผู้ศรัทธาเลื่อมใส เคารพ ย าเกรง ในพระรัตนตรัยน้อมน าเอาหลักธรรม

                       ในพระพุทธศาสนาไปประพฤติปฏิบัติ ด้วยหลักประโยชน์ ๓ การ ประกาศพระพุทธศาสนาโดยยึด
                       หลักประโยชน์และความสุขของมหาชนเป็นที่ตั้งถือเป็นวัตถุประสงค์หลักในการเผยแผ่

                       พระพุทธศาสนา ดังที่พระพุทธเจ้าได้ประทานโอวาทให้แก่เหล่าพระสาวกชุดแรกที่ทรงส่งไปประกาศ

                       พรหมจรรย์ ว่า

                               ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนหมู่มาก

                            เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ อย่าได้ไปทาง
                            เดียวกันสองรูป จงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศ

                            พรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน สัตว์ทั้งหลายที่มีธุลีในตา
                            น้อยมีอยู่ ย่อมเสื่อมเพราะไม่ได้ฟังธรรม จักมีผู้รู้ทั่วถึงธรรม


                                 พระพุทธพจน์นี้ เป็นเครื่อ ง ชี้ชัดถึงโอวาทส าคัญของการสื่อหลักธรรมในทาง
                       พระพุทธศาสนา โดยเป็นหลักการและนโยบายในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของเหล่าพุทธสาวก

                       ตราบเท่าปัจจุบันนี้ ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์สุขแก่มนุษย์ โดยหลักการคือ ให้เกิดประโยชน์สุขตามพุทธ

                       ประสงค์ ๓ ประการ คือ
                                          ๓๐
                                     ๑) ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ประโยชน์ในชาตินี้

                                     ๒) สัมปรายิกัตถประโยชน์ ประโยชน์ในชาติหน้า
                                     ๓) ปรมัตถประโยชน์ ประโยชน์อย่างยิ่ง

                                 จากพฤติกรรมที่ประกอบไปด้วยกุศลกรรมที่พระพุทธศาสนาถือเป็นหลักส าคัญ

                       เพราะก่อให้เกิดผลเป็นความสุข ความมั่งคั่งบริบูรณ์ ความไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ และจุดหมาย
                       ปลายทางของชีวิตที่ถือเป็นสุขที่สงบเย็น เป็นชีวิตที่อยู่จบพรหมจรรย์ สิ้นทุกข์ทั้งปวง





                                 ๒๙  ศูนย์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ, แผนแม่บทการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๕๔-

                       ๒๕๕๙, หน้า ๑๙.
                                 ๓๐  ขุ.จู. (ไทย) ๓๐/๖๗๓/๓๘๙.
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99