Page 98 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 98

๘๐





                       จะไป มีวิธีการที่จะสื่อสารกับเขาอย่างได้ผล และมุ่งมั่นต่ออุดมการณ์ของพระพุทธศาสนา จึงจะท าให้
                       การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดทั้งการฝึกอบรม

                       พระธรรมทูตเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และทัศนคติในด้านการประกาศและเผยแผ่
                       พระพุทธศาสนาด้วยแล้ว จึงเป็นสิ่งจ าเป็นที่จะช่วยให้พระธรรมทูตสายต่างประเทศสามารถท างานได้

                       อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

                       ๓.๕  สถานการณ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตสายต่างประเทศ


                                 สถานการณ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยในต่างประเทศ เป็นการ

                       เสนอโดยสรุปสาระส าคัญแบ่งตามทวีป ได้แก่ ทวีปเอเชีย ทวีปอเมริกา ทวีปยุโรป และทวีปโซน
                       โอเชียเนีย ตามล าดับดังนี้


                                 ๓.๕.๑  ทวีปเอเชีย
                                     ๓.๕.๑.๑  ประเทศศรีลังกา

                                     ทวีปเอเชีย เป็นทวีปแรกที่คณะสงฆ์ไทยได้ท าหน้าที่พระธรรมทูตในการส่งพระภิกษุ

                       สงฆ์จาริกไปนอกแผ่นดินไทย เพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา โดยเริ่มจากครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
                       ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ ซึ่งประเทศศรีลังกาเป็นประเทศแรกที่ได้ขออาราธนาพระภิกษุสงฆ์

                       จากประเทศไทยให้เดินทางจาริกไปที่ประเทศศรีลังกา เพื่อท าการบรรพชาอุปสมบทให้แก่กุลบุตร
                       ชาวศรีลังกา เนื่องจากประเทศศรีลังกาไม่มีพระเถระที่สามารถท าหน้าที่เป็นพระอุปัชฌาย์ได้เอง

                       หัวหน้าคณะพระธรรมทูตที่เดินทางไปในเวลานั้นเป็นคณะแรก ได้แก่ พระอุบาลีและพระอริยมุนี

                       และคณะที่สองที่จาริกเพื่อผลัดเปลี่ยนหน้าที่กับคณะแรกมีหัวหน้าคณะ ได้แก่ คณะของ
                       พระวิสุทธาจารย์และพระวรญาณมุนี ด้วยในเวลานั้น ประเทศลังกามีนักบวชเหลืออยู่ก็แต่สามเณร

                       เพราะภัยทางสงคราม ซึ่งมีสามเณรรูปหนึ่งเป็นผู้มีความฉลาด และมีศรัทธามั่นคง ชื่อว่า สรณังกร
                       กษัตริย์ลังกาที่ครองราชย์ในเวลานั้น คือพระเจ้าศรีวิชัยราชสิงหะ ได้ปรึกษากับสามเณรสรณังกร

                       ในการจะตั้งสังฆมณฑลขึ้นอีกครั้งหนึ่ง จึงแต่งทูตไปขอพระสงฆ์จากยะไข่อีกครั้ง แต่ได้รับการปฏิเสธ

                       ซึ่งกรมพระยาด ารงราชานุภาพทรงวิเคราะห์ว่า อาจเป็นเพราะพระสงฆ์ยะไข่เข็ดอากาศลังกา ที่ท าให้
                                                                                                        ๓๗
                       เจ็บป่วยมรณภาพไปหลายรูป หรือจะเป็นด้วยพระเจ้าแผ่นดินยะไข่ในเวลานั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ
                       ต่อมาพระเจ้าศรีวิชัยได้ทราบข่าวจากพวกพ่อค้าฮอลันดาว่า พระพุทธศาสนาในสยามประเทศนั้น

                       รุ่งเรืองยิ่งกว่าประเทศใด ๆ พระเจ้าศรีวิชัยจึงแต่งราชทูตมาขอคณะสงฆ์ยังกรุงสยามซึ่งตรงกับรัชสมัย
                       ของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๒๘๔ แต่ก็โชคร้ายเรือราชทูตอับปาง มีทูตเพียง ๔

                       คนที่รอดตายกลับมายังลังกาได้ แต่ด้วยพระราชศรัทธาฟื้นฟูพระศาสนา จึงทรงส่งราชทูตไปสยามอีก


                                 ๓๗  สมเด็จกรมพระยาด ารงราชานุภาพ, เรื่องประดิษฐานพระสงฆ์สยามวงศ์ในลังกาทวีป,
                       (กรุงเทพมหานคร: มติชน, ๒๕๔๖), หน้า ๑๒๕.
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103