Page 104 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 104
๘๖
อนึ่ง จ านวนพระธรรมทูตที่ปรากฏนี้เป็นรายชื่อคณะปัญจวรรคที่เริ่มเดินทางไปพร้อม
คณะเป็นครั้งแรก ส าหรับพระสงฆ์ที่มิใช่หัวหน้าพระธรรมทูตนั้นอาจปรับเปลี่ยนในเวลาต่อมา ด้วยมี
การเดินทางกลับประเทศไทยและมีพระสงฆ์รูปใหม่เดินทางมารับหน้าที่แทนเป็นระยะ อีกทั้งในทาง
ปฏิบัติแล้วยังมีพระภิกษุอื่นที่อาสามาช่วยงานด้วย จึงท าให้บางช่วงมีจ านวนพระภิกษุสงฆ์ที่เข้ามา
ช่วยงานพระธรรมทูตมากกว่า ๕ รูป
ส าหรับคณะพระธรรมทูตไทยชุดที่สี่ปฏิบัติงานตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๔ ถึงปัจจุบัน มีพระธรรม
โพธิวงศ์ (วีรยุทธ วีรยุทฺโธ น.ธ.เอก, M.A., Ph.D.) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เป็นหัวหน้าพระธรรม
ทูต และได้มีการขยายพื้นที่รับผิดชอบไปถึงเขตประเทศเนปาล จึงมีชื่อเรียกว่า พระธรรมทูตไทยสาย
ประเทศอินเดีย-เนปาล จากนั้นมามีการสร้างวัดไทยขึ้นอีกหลายแห่ง โดยเฉพาะบริเวณใกล้เคียงและ
เส้นทางระหว่างสถานที่ส าคัญทางประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นการฟื้นฟู
พระพุทธศาสนาในดินแดนต้นก าเนิดและช่วยอ านวยความสะดวกให้แก่พุทธศาสนิกชนที่เดินทางไป
แสวงบุญในประเทศอินเดีย-เนปาล จนถึงปัจจุบันนี้ วัดไทยในประเทศอินเดีย มีจ านวน ๒๑ แห่ง
เนปาล ๔ แห่ง
๕๓
ในบรรดาพระธรรมทูตสายต่างประเทศทั้งหมด มีสายพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย-
เนปาล พบว่ามีผลงานโดดเด่น เป็นที่ประจักษ์และมีการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจว่า
พระธรรมทูตสายอินเดีย-เนปาลมีลักษณะหรือรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกอย่างไร
ในฐานะที่ปฏิบัติศาสนกิจในแดนพุทธภูมิ ที่มีความหลากหลายทั้งเชื้อชาติ ความเชื่อ นับตั้งแต่สร้างวัด
ไทยพุทธคยาเมื่อปี ๒๕๐๑ งานพระธรรมทูตสายอินเดีย-เนปาลก็ได้ด าเนินมา เป็นเวลา ๖๐ ปี จึงถือ
ว่ายาวนานและหนาแน่นไปด้วยองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่องานพระศาสนา และจะได้เป็นแนวทาง
ให้กับการพัฒนาพระธรรมทูตไทยเพื่อไปประกาศพระศาสนาในต่างแดนเช่นกัน เกือบ ๖๐ ปี
คณะพระธรรมทูตไทยสายประเทศอินเดียทุกชุดได้ปฏิบัติหน้าที่ ในการท านุบ ารุงและเผยแผ่พุทธ
ศาสนาในอินเดียและส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือ ระหว่างคณะสงฆ์ไทยและคณะสงฆ์
นานาชาติในอินเดียอย่างแข็งขันและได้ผลดียิ่ง การด าเนินงานเผยแผ่พุทธศาสนาของวัดไทยในอินเดีย
มีทั้งเรื่องการจัดการ อุปบรรพชา อุปสมบท การศึกษาพระปริยัติ และการเผยแผ่พุทธศาสนาของ
พระภิกษุสามเณร ตลอดจนการปกครอง ดูแลคณะสงฆ์ แม่ชี และเจ้าหน้าที่ของวัดที่พ านักอยู่ที่วัด
รวมถึงการต้อนรับและจัดที่พัก อาหาร และการรักษาพยาบาลให้แก่พระภิกษุสงฆ์และพุทธศาสนิกชน
ชาวไทยที่มาจาริกแสวงบุญเป็นจ านวนมาก ด้วยการท างานอย่างขันแข็งของพระธรรมทูตไทยสาย
ประเทศอินเดีย ท าให้เกิดการจัดสร้างวัดไทยในอินเดียอีกจ านวนมาก อาทิ วัดไทยพุทธคยา
๕๓ [ออนไลน์] แหล่งที่มา: newdelhi.thaiembassy.org/th/thai-temple-in-india-th.[๑ กุมภาพันธ์
๒๕๖๒].