Page 107 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 107

๘๙





                       ปีพุทธศักราช ๒๐๑๒ นับตั้งแต่นั้นชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่จึงเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งต่อมา
                       ในภายหลังยังมีพุทธศาสนิกชนส่วนหนึ่งที่พยายามรักษาธรรมเนียมปฏิบัติของชาวพุทธ ด้วยการสวด

                       มนต์ตามสถานที่ส าหรับสวดมนต์ ซึ่งมีอยู่จ านวนมากทั่วประเทศ ทั้งนี้ ชาวพุทธในประเทศอินโดนีเซีย
                       ที่อาศัยอยู่ในชนบทจะเป็นชาวชวาเป็นส่วนใหญ่ และชาวจีนส่วนใหญ่จะเป็นชาวพุทธที่อาศัยอยู่ใน

                       เมืองใหญ่ ถึงแม้ว่า จะเป็นพุทธที่ผสมผสานกับความเชื่อของบรรพบุรุษคือลัทธิเต๋าและขงจื้อก็ตาม

                       การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอินโดนีเซีย จึงเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปสู่เจ้าของ
                       ประเทศโดยตรง รัฐบาลไทยได้จัดส่งพระธรรมทูตไปเพื่อส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาใน

                                                                                                     ๕๙
                       ประเทศอินโดนีเซีย ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๑๒ กว่า ๔๘ ปี ของการด าเนินงานของคณะสงฆ์ไทย
                                 ผลจากการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอินโดนีเซียสามารถจัดเป็นด้านศาสนวัตถุ

                       มีการสนับสนุนสร้างวัดในพระพุทธศาสนาเพิ่มมากขึ้น ด้านศาสนบุคคล มีองค์กรคณะสงฆ์พุทธเถร

                       วาท ๓ องค์กร ได้แก่ คณะสงฆ์เถรวาทอินโดนีเซีย(STI) คณะสงฆ์สังฆะอากุง (SAGIN) และคณะสงฆ์
                       พระธรรมทูตไทย (STT) และยังมีชาวพุทธส่วนหนึ่งที่ไม่เป็นพระสงฆ์แต่ด าเนินกิจกรรมการเผยแผ่

                       พระพุทธศาสนาโดยการจัดตั้งเป็นวัด เป็นสมาคม เป็นมูลนิธิ ซึ่งมีอยู่เป็นจ านวนมากองค์กรต่าง ๆ

                       เหล่านี้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นทั้งในด้านจ านวน บุคลากร ศาสนวัตถุ และจ านวนพุทธบริษัท
                       นอกจากคณะสงฆ์เถรวาทแล้ว การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอินโดนีเซีย ยังมีคณะสงฆ์

                       มหายาน คณะสงฆ์ตันตระยาน และคณะสงฆ์จากประเทศต่าง ๆ หลายประเทศ
                                 ผลกระทบที่มาจากการมีองค์การชาวพุทธหลายองค์กร ท าให้มีปัญหาระหว่างองค์กรชาว

                       พุทธหลายประการ เช่น การไม่เป็นเอกภาพในการด าเนินงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา การน าเสนอ

                       หลักค าสอนในพระพุทธศาสนาที่ขัดแย้งกันท าให้พุทธศาสนิกชนเกิดความสับสน การด าเนินกิจกรรม
                       เผยแผ่ซ้ าซ้อนกันเพราะขาดการประสานงานระหว่างองค์กรชาวพุทธ และการไม่ให้ความร่วมมือกับ

                       องค์กรชาวพุทธอื่น ๆ เพราะคิดว่าไม่ใช่องค์กรชาวพุทธที่ตนเองเป็นสมาชิก เป็นต้น เมื่อพิจารณาถึง
                       การเพิ่มขึ้นของจ านวนองค์กรชาวพุทธ ศาสนวัตถุ และพุทธบริษัท ย่อมแสดงถึงความเจริญและมั่นคง

                       ของพระพุทธศาสนาในประเทศอินโดนีเซีย แต่เมื่อพิจารณาให้ลึกเข้าไปอีก จะพบว่า หากไม่มีการ

                       บริหารจัดการในองค์กรและการประสานงานระหว่างองค์กรที่ดี ก็ย่อมเป็นสิ่งบั่นทอนความเจริญ
                       และความมั่นคงของพระพุทธศาสนาในประเทศอินโดนีเซียด้วยเช่นกัน


                                  กล่าวโดยสรุปสถานการณ์ของพระธรรมทูตผู้ปฏิบัติงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศ
                       อินโดนีเซีย พบว่า คณะสงฆ์ไทยเริ่มงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอินโดนีเซียเมื่อปี

                       พุทธศักราช ๒๕๑๒ ผลจากการเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีพุทธศาสนิกชนอินโดนีเซียอุปสมบทเพิ่มขึ้น




                                 ๕๙  ส านักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต), พระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต)
                       รุ่นที่ ๑๓. (กรุงเทพมหานคร: พิฆเณศพริ้นท์ติ้งเซ็นเตอร์, ๒๕๕๐, หน้า ๕๐.
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112