Page 106 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 106
๘๘
ประกอบด้วย การแจกยาฟรีในวันส าคัญทางพระพุทธศาสนา การน าคณะศรัทธาไปแจกผ้าห่มกัน
หนาว การแจกทานในวันนักขัตฤกษ์ และการส่งเสริมวัฒนธรรมไทย กิจกรรมประกอบด้วย
(๑) การรักษาพยาบาล โดยจัดสร้างคลินิก เปิดบริการ ๖ วัน ปิด ๑ วัน มีคนมารักษา
เดือนละ ๙,๐๐๐ คน
(๒) จัดหาผ้าห่มศพ ไม้เผาศพ ผู้มรณกรรม ไร้ญาติขาดมิตร ดูแลศพอนาถาตามหมู่บ้าน
และโรงพยาบาล มีผ้าห่มศพ และเงินช่วยเหลือบางส่วนให้ในเบื้องต้น
(๓) จัดหายาฟรีในวันพระ เพื่อให้คนรู้จักวันประกาศพระพุทธศาสนา และวันพระพุทธเจ้า
(๔) จัดหาผ้าห่มหน้าหนาว โดยมีผู้ศรัทธานัดหมายมาแจกผ้าตามหมู่บ้านยากจน
(๕) จัดหาข้าวสารอาหารแห้งแก่คนจน ในงานนักขัตฤกษ์ จัดมหาทานแจกจ่าย
(๖) จัดหาอุปกรณ์การศึกษาแก่นักเรียนยากจน ตามโรงเรียนที่วัดดูแล รวมทั้งครูผู้สอนด้วย
(๗) มอบของขวัญให้เจ้าหน้าที่ ให้ก าลังใจ ความคุ้นเคย ความเป็นมิตร
(๘) ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนการกีฬาท้องถิ่น เช่น วิ่งมาราธอน มวยปล้ า ฮ๊อกกี้
เป็นต้น
(๙) ส่งเสริมวัฒนธรรม นาฏศิลป์ ให้โรงเรียนฝึกการแสดง แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับ
๕๖
นักเรียนไทย
๓.๕.๑.๓ ประเทศอินโดนีเซีย
ส าหรับในประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศหนึ่งที่คณะสงฆ์ไทยได้ส่งพระธรรมทูตไป
เผยแผ่พระพุทธศาสนา จากสภาพของประเทศที่มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเกาะกว่า ๑๗,๕๐๘ เกาะ มีพื้นที่
เป็นทะเลมากกว่าพื้นดิน มีประชากรประมาณ ๒๔๕ ล้านคน โดยชาวอินโดนีเซีย ร้อยละ ๘๗ นับถือ
ศาสนาอิสลาม ร้อยละ ๑๐ นับถือศาสนาคริสต์ (ศาสนาคริสต์นิกาย โปรแตสแตนท์ ร้อยละ ๖
และศาสนาคริสต์นิกายแคทอลิก ร้อยละ ๓.๕) ที่เหลืออีกร้อยละ ๓ นับถือศาสนาฮินดูและพุทธ
๕๗
ศาสนา ซึ่งแบ่งสัดส่วนได้คือร้อยละ ๑.๘ นับถือศาสนาฮินดู และร้อยละ ๑.๒ นับถือศาสนาพุทธ
แม้ว่าปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียจะเป็นประเทศนับถือศาสนาอิสลาม แต่ในอดีตเคยมี
พระพุทธศาสนาแบบมหายานเข้ามาประดิษฐานอยู่ พระพุทธศาสนาได้รุ่งเรืองมาก ประมาณพุทธ
ศตวรรษที่ ๑๒ มีโบราณสถานที่ส าคัญอยู่ในอินโดนีเซีย คือ โบโรบุดูร์ หรือ บรมพุทโธ ตั้งอยู่ที่ราบ
เกตุ (Kedu) ในภาคกลางของชวา ต่อมาเมื่ออิสลามได้ขยายอ านาจครอบง าอินโดนีเซียใน
๕๘
๕๖ พระราชรัตนรังษี (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ), ประธานสงฆ์วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ประเทศอินเดีย และ
ปฏิบัติหน้าที่เจ้าอาวาสวัดไทยลุมพินี ประเทศเนปาล, ๒๕ มกราคม ๒๕๔๘. (บทสัมภาษณ์).
๕๗ เพ็ชรี สุมิตร, ประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย, (กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโตโยต้า ประเทศไทย, ๒๕๕๒),
หน้า ๙๐.
๕๘ เรื่องเดียวกัน,หน้า ๙๓.