Page 1 - Glasgow Coma Scale ภาษาไทย
P. 1

สื่อการเรียนรู้ การประเมินระดับการเปลี่ยนแปลงความรู้สติ Glasgow coma scale (GCS)

                       การประเมินระดับการเปลี่ยนแปลงความรู้สติ Glasgow coma scale (GCS) ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ.

               1974 โดย Sir Graham Teasdale และ Bryan J. Jennett ศาสตราจารย์ประจ า University of Glasgow’s
               institute of Neurological Sciences เพื่อน ามาใช้ในการประเมินและติดตามอาการของผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ

               ที่ศีรษะ  จากนั้นได้มีการน าการประเมินมาใช้กับผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพทางระบบประสาท  (Vicki  S.  Good,
               2018)     ซึ่งได้รับการยอมรับในระดับสากลและถูกน ามาใช้เป็นมาตรฐานในการประเมินผู้ป่วยในโรงพยาบาล

               ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับหลักการประเมินที่ถูกต้องร่วมกับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้ผู้ประเมิน สามารถ
               ประเมินได้อย่างถูกต้องตามสภาพจริงของผู้ป่วย  ลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการประเมิน  และเกิด

               ประโยชน์สูงสุดต่อตัวผู้ป่วย

               ความหมายของการประเมินระดับการเปลี่ยนแปลงความรู้สติ Glasgow coma scale (GCS)

                              การประเมินระดับการเปลี่ยนแปลงความรู้สึกตัว  Glasgow  coma  scale  (GCS)  หมายถึง

               รูปแบบหรือมาตรฐานในการประเมินอาการและอาการแสดงของผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพทางระบบประสาท  ซึ่ง
               จะเน้นการประเมินพฤติกรรมในการตอบสนอง 3 ด้านของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท ได้แก่ การลืม

               ตา (Eyes opening : E) การสื่อสาร (Verbal response : V) และการเคลื่อนไหว (Movement : M) รวมเป็น
               EMV (Graham Teasdale, 2014) โดยแต่ละพฤติกรรมในการตอบสนองจะมีเกณฑ์การให้คะแนนและวิธีการ

               ประเมินที่แตกต่างกันออกไป

               วัตถุประสงค์ของ การประเมินระดับการเปลี่ยนแปลงความรู้สติ Glasgow coma scale (GCS)


                       1.เพื่อใช้ในการคัดกรองผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพทางระบบประสาท

                       2.เพื่อใช้ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงพยาธิสภาพทางระบบประสาทของผู้ป่วย

               หลักการและการประเมินระดับการเปลี่ยนแปลงความรู้สติ Glasgow coma scale (GCS)


                       Glasgow  Coma  Scale  (GCS)  จะถูกน ามาใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีพยาธิสภาพทางระบบประสาทหรือ
               ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ  เพื่อให้สามารถดูแลและเฝ้าระวังอาการที่ผิดปกติจากพยาธิสภาพทางระบบประสาทได้

               อย่างทันท่วงที โดยจะมีหลักการในการประเมินทั้งหมด 4 ข้อจาก Graham Teasdale ค.ศ.2014 ได้แก่

                       1. Check


                       2. Observe

                       3. Stimulate

                       4. Rate


                       หมายเหตุ : หลักการ Observe และ Stimulate ในทางปฏิบัติจริงคือการใช้สองหลักการนี้ควบคู่กัน
               ไปในระหว่างการประเมิน โดยเมื่อใช้การกระตุ้นกับผู้ป่วยจนเกิดพฤติกรรมตอบสนองขึ้น หลังจากนั้นผู้ประเมิน

               จะต้องสังเกตพฤติกรรมการตอบสนองนั้น เพื่อน ามา Rate คะแนนในภายหลังการสังเกตพฤติกรรม
   1   2   3   4   5   6