Page 5 - Glasgow Coma Scale ภาษาไทย
P. 5
step action อาจจะพบการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อแบบเกร็งงอผิดปกติทั้งสองข้าง เกร็งเหยียดผิดปกติทั้ง
สองข้าง หรือเกร็งผิดปกติของซ้ายกับขวาที่แตกต่างกัน ให้เลือกประเมินจากข้างที่ตอบสนองชัดเจนและดีที่สุด
เพราะข้างที่ตอบสนองแต่ไม่ชัดเจนอาจจะเกิด reflex จาก brain damage บางครั้งผู้ป่วยอาจจะมีปัจจัยบาง
ประการที่อาจจะท าให้การประเมินคลาดเคลื่อน คือ การได้รับยาบางชนิด ได้แก่ Anticonvulsant drugs เป็น
ต้น ที่ท าให้ความสามารถในการเคลื่อนไหวลดลง ดังนั้นผู้ประเมินควรตรวจในสอบขั้นตอนที่ 1 ให้ครอบคลุม
4. RATE
ในขั้นตอนการประมวลผลคะแนนนี้ ภายหลังจากการประเมินพฤติกรรมการตอบสนองของผู้ป่วย
สิ้นสุดลง ผู้ป่วยจะได้รับการลงคะแนนตามมาตรฐานของ Glasgow Coma Scale ซึ่งจะได้คะแนนออกมาโดย
เรียงล าดับตาม E M V หลังจากนั้น ให้น าคะแนนมารวมกันทั้งสามการประเมิน โดยคะแนนเต็มจะอยู่ที่ 15
คะแนน คะแนนรวมที่ได้มานี้จะถูกน ามาวัดระดับความรุนแรงของผู้ป่วย โดยแบ่งออกเป็น
Sever level น้อยกว่า 8 คะแนน
Moderate level 9 – 12 คะแนน
Mild level 13 – 15 คะแนน
หากคะแนนของผู้ป่วยมีน้อยกว่า 8 คะแนนแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยอยู่ในภาวะโคม่าหรือไม่รู้สึกตัวโดยแบ่งออก
ตามคะแนน หากผู้ป่วยมีคะแนนรวมน้อยกว่า 8 แต่มากกว่า 4 คะแนน แสดงว่าผู้ป่วยอยู่ใน Semi – coma
level หากผู้ป่วยมีคะแนน น้อยกว่า 4 คะแนน แสดงว่าผู้ป่วยอยู่ใน Coma ควรรีบให้การพยาบาลเพื่อ
ช่วยเหลือโดยทันที
สรุป
การที่ผู้ประเมินจะมีความสามารถในการประเมินระดับการเปลี่ยนแปลงความรู้สึกตัว Glasgow
coma scale (GCS) ตามมาตรฐานได้ถูกต้องนั้น จะต้องผ่านการทบทวน และการฝึกฝนอย่างสม่ าเสมอ เพื่อให้
เกิดประสบการณ์และความเข้าใจในการประเมิน มีทักษะในการประเมินที่จะท าให้เกิดความแม่นย าในการ
ประเมินมากขึ้น หากผู้ประเมินสามารถประเมินได้อย่างถูกต้อง จะท าให้สามารถดูแลและเฝ้าระวังอาการที่
ผิดปกติจากพยาธิสภาพทางระบบประสาทได้อย่างทันท่วงที