Page 4 - Glasgow Coma Scale ภาษาไทย
P. 4

2.การสื่อสาร (Verbal response : V) การประเมินการสื่อสารจะเริ่มขึ้นได้ผู้ป่วยจะต้องลืมตาจากการ

               ประเมินการลืมตาก่อน  เมื่อสามารถลืมตาได้  จะเริ่มการประเมินโดยให้ผู้ป่วยระบุชื่อตนเอง  ระบุสถานที่  ณ
               ปัจจุบัน ระบุวัน เวลา ระบุว่าผู้ประเมินเป็นใคร หากผู้ป่วยสามารถระบุได้ถูกต้องครบถ้วน ผู้ป่วยจะได้คะแนน
               5 คะแนน หากผู้ป่วยไม่สามารถระบุได้ถูกต้อง ระบุได้ถูกบ้าง หรือไม่สามารถระบุได้เลยแต่ยังสามารถพูดได้เป็น

               ประโยคที่เข้าใจได้ ผู้ป่วยจะได้คะแนน 4 คะแนน หากผู้ป่วยไม่สามารถพูดได้เป็นประโยค พูดได้เพียงเป็นค าๆ
               สั้นๆที่มีความหมาย ผู้ป่วยจะได้คะแนน 3 คะแนน หากผู้ป่วยไม่สามารถสื่อสารเป็นค าได้ ท าได้แต่เพียงส่งเสียง

               อือ อา ผู้ป่วยจะได้คะแนน 2 คะแนน หากไม่มีการตอบสนองจากผู้ป่วย ผู้ป่วยจะได้คะแนน 1 คะแนน

               หมายเหตุ  :  ในการประเมินการสื่อสาร  บางครั้งผู้ป่วยอาจจะมีปัจจัยบางประการที่อาจจะท าให้การประเมิน

               คลาดเคลื่อน เช่น การได้รับยาบางชนิด เช่น ยาแก้แพ้ Antidepressants เป็นต้น ที่ท าให้ความสามารถในการ
               สื่อสารลดลง ดังนั้นผู้ประเมินควรตรวจสอบในขั้นตอนที่ 1 ให้ครอบคลุม


                       3.การเคลื่อนไหว (Movement : M) การประเมินการเคลื่อนไหวสามารถท าได้ทั้งที่ผู้ป่วยรู้สึกตัวและ
               ไม่รู้สึกตัว  หากผู้ป่วยสามารถสื่อสารกับผู้ประเมินได้  จะเริ่มให้ผู้ป่วยท าตามค าสั่ง  เช่น  การท า  two  –  step
               action  โดย  1.การประเมินการเคลื่อนไหวของแขนและขา  ให้ผู้ป่วยยกมือขึ้นมาจับมือผู้ประเมิน  แล้วบอกให้

               ผู้ป่วยปล่อยมือ  หรือให้ขยับแขนทั้งสองข้าง  จากนั้นให้ยกขาหรือขยับขาทั้งสองข้าง  2.การประเมินการ
               เคลื่อนไหวของใบหน้า ให้ผู้ป่วยน าลิ้นมาแตะที่ริมฝีปาก ยักคิ้ว หรือกระพริบตา หากผู้ป่วยสามารถท าได้อย่าง

               ใดอย่างหนึ่ง  ผู้ป่วยจะได้คะแนน  6  คะแนน  หากไม่มีการตอบสนองจากผู้ป่วยตั้งแต่ต้น  เช่น  ผู้ป่วยไม่ลืมตา
               หรือไม่สามารถสื่อสารได้   ผู้ประเมินจะต้องเริ่มให้การกระตุ้น   ซึ่งการกระตุ้นจะต้องมีความแรงมากกว่า
               physical peripheral stimulate เพราะการกระตุ้นชนิดนี้ไม่สามารถกระตุ้น motor component ได้ ดังนั้น

               การกระตุ้นที่เหมาะจะใช้ในการประเมินได้แก่ central stimulate โดยเริ่มจากต าแหน่งที่ 1. Trapezius pinch
               วางมือบนไหล่ของผู้ป่วยในลักษณะที่นิ้วทั้งสี่เรียงชิดติดกันยกเว้นนิ้วโป่งเพื่อบีบกดที่ไหล่ผู้ป่วย  โดยให้นิ้วโป่ง

               อยู่ด้านหน้าของผู้ป่วยและนิ้วที่เหลือทั้งสี่อยู่ทางด้านหลังของผู้ป่วยจากนั้นเริ่มออกแรงกด  ขณะที่กดจะต้อง
               เพิ่มแรงกดขึ้นเรื่อยๆจนสามารถกระตุ้นผู้ป่วยได้  หรือหากไม่การตอบสนองให้เพิ่มแรงกดต่อไปจนครบ  10

               วินาที ต าแหน่งที่ 2.Supraorbital notch การกระตุ้นนี้จะเริ่มท าเมื่อการกระตุ้น Trapezius pinch ไม่ได้ผล
               โดยวางมือลงบนหน้าผากของผู้ป่วยให้นิ้วโป่ง  กดลงบนหัวคิ้วของผู้ป่วย  ขณะที่กดจะต้องเพิ่มแรงกดขึ้นเรื่อยๆ

               จนสามารถกระตุ้นผู้ป่วยได้ หรือหากไม่การตอบสนองให้เพิ่มแรงกดต่อไปจนครบ 10 วินาที หากผู้ป่วยสามารถ
               ใช้มือเคลื่อนที่มาถูกต าแหน่งที่เจ็บได้  ผู้ป่วยจะได้คะแนน  5  คะแนน  หากผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนมือมาถูก
               ต าแหน่งที่เจ็บได้  มีเพียงการเคลื่อนไหวมือไปมาในลักษณะการตอบสนองต่อความเจ็บปวด  หรือผู้ประเมิน

               อาจจะใช้ physical peripheral stimulate เพื่อประเมินว่ามีการชักแขนขาหนีหรือไม่ หากมีการชักแขนขาหนี
               ผู้ป่วยจะได้คะแนน 4 คะแนน หากการกระตุ้นท าให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวในลักษณะเกร็งงอผิดปกติ ผู้ป่วยจะ

               ได้คะแนน 3 คะแนน หากการกระตุ้นท าให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวในลักษณะเกร็งเหยียดผิดปกติ  ผู้ป่วยจะได้
               คะแนน 2 คะแนน หากไม่มีการตอบสนอง ผู้ป่วยจะได้คะแนน 1 คะแนน


               หมายเหตุ : หากในขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบพบว่าผู้ป่วย spinal injury อันเป็นเหตุให้ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหว
               แขนหรือขาได้  ให้ใช้การประเมิน  two  –  step  action  ในข้อ  2.  หากสามารถท าได้  ผู้ป่วยจะได้คะแนน  6

               คะแนน supraorbital notch stimulate จะไม่สามารถใช้ได้กับผู้ป่วย facial injury จากการกระตุ้น two –
   1   2   3   4   5   6