Page 2 - Glasgow Coma Scale ภาษาไทย
P. 2
1. CHECK
ในการตรวจสอบเบื้องต้นนี้ ผู้ประเมินจะต้องตรวจสอบข้อมูลของผู้ป่วยก่อนการประเมิน ได้แก่ ประวัติ
ส่วนบุคคล ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต ประวัติการรักษา การได้รับยา เพื่อให้
ทราบถึงการด าเนินของพยาธิสภาพ และค้นหาปัจจัยที่อาจมีผลต่อการตรวจประเมินในตัวผู้ป่วยเอง เช่น ผู้ป่วย
มีประวัติหูหนวก ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการรับความรู้สึกที่ปลายมือปลายเท้า ผู้ป่วยมีความพิการที่แขน
หรือขา หรือผู้ป่วยสูญเสียดวงตาทั้งสองข้างหรือข้างใดข้างหนึ่งไป ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะมีผลท าให้การประเมิน
ผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนได้ โดยที่ข้อมูลเหล่านี้ ผู้ประเมินสามารถตรวจสอบได้จาก แฟ้มประวัติข้อมูล OPD
card หรือการสอบถามจากญาติของผู้ป่วย
2. OBSERVE
ในการการสังเกตนี้ จะเริ่มต้นด้วยการ ยืนสังเกตผู้ป่วยข้างเตียง เพื่อดูธรรมชาติของผู้ป่วยทั้งการ
เคลื่อนไหว ดวงตา หรือ การส่งเสียงหรือการขยับริมฝีปากของผู้ป่วย เพื่อคาดคะเนความสามารถของผู้ป่วย
เบื้องต้น รวมถึงข้อจ ากัดในการประเมินบางประการ เช่น ผู้ป่วยอาจมีเปลือกตาบวมฟกช้ าซึ่งเป็นเหตุให้ไม่
สามารถลืมตาได้เอง จากนั้นจะเริ่มเข้าสู่การประเมินตามพฤติกรรมในการตอบสนอง 3 ด้านของร่างการที่
เกี่ยวข้องกับระบบประสาท ได้แก่ การลืมตา (Eyes opening : E) การสื่อสาร (Verbal response : V) และ
การเคลื่อนไหว (Movement : M) โดยแต่ละพฤติกรรมในการตอบสนองจะมีเกณฑ์การให้คะแนนและวิธีการ
ประเมินที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะต้องอาศัยหลักการสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วย ดังนี้
1.การลืมตา (Eyes opening : E) เกณฑ์การให้คะแนน
สามารถลืมตาได้เอง 4 คะแนน
ลืมตาได้เมื่อมีเสียงเรียก 3 คะแนน
ลืมตาได้เมื่อกระตุ้นเจ็บ 2 คะแนน
ไม่มีการตอบสนอง 1 คะแนน
หมายเหตุ : หากยืนสังเกตข้างเตียงผู้ป่วยแล้วพบว่า ตาของผู้ป่วยนั้นปิดไม่สนิท ไม่ถือว่าเป็นการ “ลืม
ตาได้เอง” หากพบอาการบวมของเปลือกตา ซึ่งอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ท าให้ผู้ป่วยไม่สามารถ “ลืมตาได้เอง” ให้
บันทึกข้อมูลว่า EC (Eyes Closed) (นภาภรณ์ กวางทอง, 2560)
2.การสื่อสาร (Verbal response : V) เกณฑ์การให้คะแนน
พูดคุยรู้เรื่องทั้งวันเวลาสถานที่และบุคคล 5 คะแนน
พูดจาสับสน 4 คะแนน
พูดได้เป็นค าๆไม่ได้ใจความ 3 คะแนน
เปล่งเสียงได้แต่ไม่เป็นค าพูด 2 คะแนน