Page 20 - Annal Report Ed-CMU 2019
P. 20

17



























                 การศึกษาและองค์ความรู้ในการเลี้ยงดูเด็กในครอบครัวแหว่งกลางในประเทศไทยนั้นมีน้อยมาก งานวิจัยเชิงคุณภาพที่ศึกษาสถานการณ์
          การเลี้ยงดูหลานในครัวเรือนข้ามรุ่นในจังหวัดพิษณุโลก ขอนแก่นและกาญจนบุรีพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่รู้สึกยินดีและเต็มใจที่มีโอกาสดูแล
          หลาน  (กาญจนา  เทียนลายและวรรณี  หุตะแพทย์,  2556)  แต่อย่างไรก็ตามจากการสำารวจสถานการณ์การดูแลเด็กปฐมวัยในจังหวัดลำาพูน  โดย
          คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และการสนับสนุนจากสำานักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว (สำานัก 4) สำานักงานกองทุน
          สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พ.ศ. 2558 ถึง 2559 พบว่า พ่อแม่และผู้สูงอายุยังขาดความรู้และทักษะในการดูแลเด็กปฐมวัยที่ถูกต้องและ

          เหมาะสมจึงทำาให้เด็กปฐมวัยเกิดปัญหาต่างๆ ตามมาซึ่งอาจส่งผลกระทบเมื่อเด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคตได้ โครงการดูแลเด็กปฐมวัย
          โดยครอบครัวและชุมชน ภายใต้ศูนย์ความเป็นเลิศทางการพยาบาล (สาขาศูนย์พัฒนาระบบและกลไกการดูแลเด็กและวัยรุ่น) คณะพยาบาลศาสตร์
          มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  เห็นความสำาคัญถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับเด็ก  ทีมคณาจารย์กลุ่มวิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์เข้าร่วมประเมินความ
          รู้ ทักษะการเลี้ยงดูเด็กและความตระหนักถึงปัญหาของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยในชุมชนเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำาพูน เช่น
          ครู อสม. เจ้าหน้าที่ รพ.สต.และรพช. โดยมี อสม.เป็นผู้ประสานงานในการสำารวจข้อมูล พบว่า มีครอบครัวแหว่งกลางที่มีเด็กปฐมวัยอยู่ทุกหมู่บ้าน
          การเลี้ยงดูโดยปู่ ย่า ตา ยาย ส่วนใหญ่เป็นแบบตามใจเพราะด้วยความรักและเอ็นดูเด็กที่ไม่ได้มีพ่อแม่อยู่ดูแลและไม่อยากให้เด็กร้องไห้หรือก้าวร้าว
          ซึ่งทำาให้เกิดปัญหาหลายๆ ด้านในเด็กได้แก่ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำาวัน ติดขวดนม ไม่ได้รับการฝึกขับถ่าย โมโหร้าย
          ก้าวร้าว เล่นโทรศัพท์ติดต่อกันนาน กินข้าวน้อย ไม่กินผัก ท้องผูก เป็นต้น  เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหากิจกรรมที่จะต้องทำาเร่งด่วน
          ต่อไปคือ การร่วมพัฒนาหลักสูตรการดูแลเด็กปฐมวัยในครอบครัวแหว่งกลางโดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนในชุมชนด้วยกระบวนการทางวิจัย
          เพราะยังไงเค้าก็ต้องเลี้ยง เราในฐานะนักวิชาการจะต้องมาช่วยให้พ่ออุ้ยแม่อุ้ยโอบอุ้มและเลี้ยงดูละอ่อนในรูปแบบที่มีคุณภาพต่อไป

                  “รากฐานความอบอุ่น คือ การพัฒนารากฐานของประเทศไทย”
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25