Page 22 - Annal Report Ed-CMU 2019
P. 22
19
ผู้ดำาเนินโครงการประกอบไปด้วยทีมงานที่เป็นอาจารย์
จากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อดีตพยาบาล
ประจำาศูนย์กามโรค จังหวัดเชียงใหม่ และนักศึกษาปริญญาเอก
และปริญญาโท สาขาวิชาการผดุงครรภ์ จากความรู้ ความเชี่ยวชาญ
ของทีมงานและการศึกษารวบรวมปัญหาที่ผ่านมาเกี่ยวกับพฤติกรรม
เสี่ยงทางเพศของเยาวชน การประเมินปัจจัยเอื้อ ปัจจัยสนับสนุน
และความพร้อมของโรงเรียนในเขตพื้นที่อำาเภอพร้าว โดยมีการ
ประชุมเพื่อวางแผนการดำาเนินงาน วางแผนการอบรม การจัด
กิจกรรมสันทนาการ การจัดทำาสื่อการให้ความรู้ที่หลากหลาย ได้แก่
วีดิทัศน์ powerpoint ไวนิล คู่มือ อุปกรณ์การการคุมกำาเนิดแบบ
ต่างๆ ที่พัฒนาโดยคำานึงถึงความเหมาะสมและดึงดูดใจสำาหรับวัยรุ่น
ในการจัดการอบรมแบ่งเยาวชนเป็นฐานย่อยๆ 4 ฐาน
ได้แก่ 1. ฐานทักษะชีวิต ทักษะการปฏิเสธ 2. ฐานความรู้เท่าทัน
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 3. ฐานป้องกันความเสี่ยง (การคุมกำาเนิด
ในวัยรุ่นและการใช้ถุงยางอนามัย) และ 4. ฐานการตั้งครรภ์ใน
วัยรุ่นและการทำาแท้ง เยาวชนได้หมุนเวียนเข้ารับการอบรมแต่ละ
ฐานอย่างใกล้ชิด เปิดโอกาสให้ซักถาม ตอบคำาถาม การแสดง
บทบาทสมมุติ การฝึกใส่ถุงยางอนามัยกับโมเดล ฯลฯ ผลจากการ
ที่เยาวชนได้มีโอกาสรับฟังความรู้ ได้มองเห็น ได้จับต้องอุปกรณ์
ในการคุมกำาเนิด ได้รับทราบถึงผลเสียของการมีเพศสัมพันธ์ก่อน
วัยอันควร โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและการ
ทำาแท้ง ได้สร้างความตระหนักและตื่นรู้แก่เยาวชน เกิดความรู้
ความเข้าใจ เพิ่มทักษะชีวิตในการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์เมื่อถึงวัยอันควร การมีเพศสัมพันธ์ที่
ปลอดภัย การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การป้องกันการติดเชื้อ
ทางเพศสัมพันธ์ และเกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบัน
การศึกษาและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการป้องกันปัญหาเพศสัมพันธ์
ก่อนวัยอันควรอย่างยั่งยืนต่อไป