Page 26 - Annal Report Ed-CMU 2019
P. 26

23






                 ระยะที่ 2 จัดกิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ นิเทศ
          และติดตามผลการดำาเนินงาน  ผลการอบรมเชิงปฏิบัติการ
          สำาหรับครูผู้สอนภาษาไทยในการออกแบบการจัดการเรียนรู้
          สำาหรับนักเรียนที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง ทำาให้ครูผู้สอน
          นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ทุกโรงเรียนมีความรู้ สามารถพัฒนา
          ต่อยอดและบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้
          ในกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ และบูรณาการหลายวิชา
          ผ่านกระบวนการเรียนรู้ Professional Learning Community
          (PLC) ด้วยวิธีการสอน แบบ BEST Model เพื่อสร้างอาชีพ
          ความตระหนัก ความรัก ความหวงแหนในชุมชน และสืบทอด
          ความเป็นท้องถิ่น

                     การนำานักศึกษาอาสาสมัครเข้าไปจัดกิจกรรมในพื้นที่
          ณ โรงเรียนบ้านอูตูม นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ได้จัดกิจกรรม
          บูรณาการภาษา ศิลปะ และชุมชน สำาหรับนักเรียนระดับ
          ประถมศึกษาตอนต้น  กิจกรรมกีฬาสีภาษาเพื่อการสื่อสาร
          สำาหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย  กิจกรรมการ
          สร้างสื่อการสอนสำาหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา  ผลการ
          จัดกิจกรรมพบว่านักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์มีทักษะการพูด การฟัง
          การอ่าน  การเขียน  สื่อสารภาษาไทยได้ในระดับที่น่าพอใจ
          และเป็นแนวทางแก่ครูผู้สอนในการจัดกิจกรรมส่งเสริมใช้

          ภาษาไทยในชีวิตประจำาวันที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น
                 ระยะที่  3  สะท้อนคิด  และสรุปผลการดำาเนินงาน
          โครงการฯ ผลการดำาเนินงานดังกล่าวพบว่า ครูมีศักยภาพ
          ในการพัฒนาต่อยอดการจัดการเรียนรู้  สำาหรับนักเรียนกลุ่ม
          ชาติพันธุ์และชุมชนที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง  สะท้อน
          ผลจากนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์มีทักษะการฟัง  การพูด  การอ่าน
          และการเขียน ในระดับที่ดีขึ้น และผู้ปกครองมีความสามารถ
          ในการใช้ภาษาไทยที่เกี่ยวกับชีวิตประจำาวัน สำาหรับนักศึกษา
          ที่ร่วมโครงการสามารถนำาเอาองค์ความรู้ ศาสตร์ตามลักษณะ
          เฉพาะของสาขาวิชามาบูรณาการ  วางแผน  ออกแบบ  และ
          จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทยสำาหรับนักเรียนกลุ่ม

          ชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงได้ในระดับดีมาก  และอาจารย์คณะ
          ศึกษาศาสตร์  ได้ทำางานในพื้นที่จริงร่วมกับโรงเรียน  ได้ใช้
          ศักยภาพตามศาสตร์ที่เชี่ยวชาญในการบริการวิชาการแก่
          ชุมชนอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31