Page 31 - Annal Report Ed-CMU 2019
P. 31

28

              นอกจากการสอนสรรพนามแล้ว การสอนคำาบุพบทในเชิงพื้นที่

       ก็มีความสำาคัญในการสอนภาษาอังกฤษในหลักสูตรปฐมวัย  การนำาเอา
       รูปภาพแสดงมโนทัศน์มานำาเสนอการสอนบุพบทง่ายๆ  สำาหรับนักเรียน
       ในชั้นประถมศึกษาสามารถทำาได้  อาทิ  ตัวอย่างการสอนเรื่อง  on  off
       จากตัวอย่างภาพที่แสดงให้เห็นการกล่าวถึงตำาแหน่งของวัตถุ  (ใน
       ตัวอย่างคือหมวก)  กับวัตถุที่เป็นตัวอ้างอิง  (ในตัวอย่างคือโต๊ะ)  ความ
       ชัดเจนของมโนทัศน์จากรูปภาพจะทำาให้ผู้เรียนเข้าใจถึงความแตกต่าง
       ในการกล่าวอ้างถึงตำาแหน่งของวัตถุโดยใช้บุพบท on และ off ในระดับ
       ปฐมวัยตอนปลายหรือในช่วงชั้นที่ 5-6 นั้น ครูผู้สอนอาจสอดแทรกเรื่อง
       การสอน  Tense  ซึ่งเป็นลักษณะสำาคัญทางไวยากรณ์ของภาษาอังกฤษ
       แม้จะสอนกันได้ไม่ง่ายนัก
              การสอนกาล  หรือ  Tense  นั้นสามารถนำามาผนวกกับรูป
       แสดงมโนทัศน์ได้ด้วยเช่นกันดังตัวอย่างที่เห็นจากภาพประกอบด้าน

       ล่านนี้ รูปภาพแสดงให้เห็นการใช้กาลที่ระบุถึงเหตุการณ์ที่แสดงเจตนาที่
       ชัดเจนของผู้หญิงจากการใช้ will ในภาพที่ 1 และการระบุถึงเหตุการณ์
       ที่เกิดขึ้น ณ ช่วงเวลาที่พูดหรือเหตุการณ์ที่กำาลังเกิดขึ้น ณ เวลานั้นจาก
       การใช้ is putting ในภาพที่ 2 หรือการแสดงให้เห็นถึงเวลาในอดีตจาก
       การใช้ put ในภาพที่ 3 และการเปรียบเทียบปัจจุบันกาลและอดีตกาล
       แบบทั่วๆ ไปอย่างในภาพที่ 4 แม้ว่าการใช้ put อาจจะยากไปสำาหรับ
       นักเรียนปฐมวัยในช่วง  5  –  6  เนื่องจากเป็นกริยาที่ไม่ได้เติมหน่วยคำา
       ที่แสดงอดีตกาลที่ชัดเจน  แต่มีการคงรูปเดิมทั้งในรูปปัจจุบันกาลและ

       อดีตกาล ครูผู้สอนอาจต้องสรรหาคำากริยาที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปชัดเจน
       เพื่อสอนนักเรียนในช่วงนี้ก่อนให้เกิดความชินกับการใช้รูปกาลในภาษา
       อังกฤษ  แล้วรูปกริยาที่มิได้เปลี่ยนแสดงหน่วยคำาอดีตกาลชัดเจนสามารถ
       นำามาสอนภายหลังได้
              ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นข้างบนนั้น  เป็นเพียงวิธีการนำาเสนอ
       มโนทัศน์ความหมายของคำาและไวยากรณ์เบื้องต้น  ผู้สอนสามารถนำา
       ไปปรับใช้กับแง่มุมทางภาษาหลายๆ  ด้าน  การนำาเสนอมโนทัศน์ผ่าน                  1               2
       รูปภาพนี้จะมีประโยชน์กับผู้เรียนในระดับปฐมวัยเนื่องจากการอาศัย
       รูปภาพแทนคำาอธิบายที่ซับซ้อนทางภาษาจะสร้างความเข้าใจที่ลึกซึ้ง
       ในระดับของการสร้างจินตภาพที่ช่วยให้การจำารูปแบบทางภาษาเป็นได้
       อย่างง่าย นอกจากนี้แล้วเป็นการลดภาระการใช้ภาษาที่ 1 โดยไม่จำาเป็น
       เนื่องจากการเรียนภาษาอังกฤษที่เป็นอังกฤษจะสร้างสภาพแวดล้อมที่

       ผู้เรียนในเห็นความจำาเป็นของการใช้ภาษาที่  2  (ภาษาอังกฤษ)  ทำาให้
       การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพได้  แม้ว่าในระยะแรกของ                 3               4
       การใช้ภาพสร้างมโนทัศน์ผู้สอนและผู้เรียนจำาเป็นต้องเข้าใจร่วมกันว่า
       บทบาทของภาษาแม่ของผู้เรียนจะมีน้อยกว่าการใช้ภาษาที่ 2 ที่เรียนอยู่
       ก็ตาม
   26   27   28   29   30   31   32   33