Page 18 - Annal Report Ed-CMU 2019
P. 18

15

                                คณะทำางานของคณะเทคนิคการแพทย์  ได้ดำาเนินโครงการ

                         เพื่อแก้ไขปัญหาการติดพยาธิในลำาไส้  ในนักเรียนชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยง
                         ในเขตพื้นที่ อำาเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับชุมชนและหน่วยงาน
                         ด้านสาธารณสุขของ อำาเภออมก๋อย อย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2556-
                         2561 พบว่านักเรียนมีปัญหาการติดพยาธิในสำาไส้ โดยมีความชุกของ
                         การติดพยาธิในสำาไส้สูงถึงร้อยละ  60  และเป็นพยาธิในลำาไส้ที่ก่อโรค
                         ถึงร้อยละ 20 จากการสำารวจในปีที่ 1 (พ.ศ. 2556) ดังนั้นในปี พ.ศ.
                         2557-2561  จึงได้หาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกับโรงเรียน  ชุมชน
                         สำานักงานสาธารณสุขอำาเภอ  และโรงพยาบาลอมก๋อย  โดยการให้ยา
                         ถ่ายพยาธิ ส่งเสริมสุขภาพ ให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการติดพยาธิ การ
                         ดูแลสุขอนามัย  และสุขลักษณะส่วนบุคคล  แก่นักเรียน  รวมถึงการ
                         ทำางานร่วมกับโครงการสร้างส้วมซึมประจำาครัวเรือนและประจำาโรงเรียน
                         และโครงการการจัดหาระบบน�ดื่มสะอาดประจำาโรงเรียน และการ

                         ตรวจวิเคราะห์น�ดื่ม  ซึ่งดำาเนินการโดยคณะเทคนิคการแพทย์
                         มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้โครงการ “การพัฒนาคุณภาพชีวิตและ
                         เสริมสร้างศักยภาพของชุมชนพื้นที่อำาเภออมก๋อย ตามแนวพระราชดำาริ
                         ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  อย่างยั่งยืน”
                         นอกจากนี้คณะทำางานได้ดำาเนินการตรวจติดตามการติดพยาธิในสำาไส้
                         อย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลการตรวจติดตามพบว่า ความชุกของการติดพยาธิ
                         ในลำาไส้ลดลง จากการตรวจครั้งแรกอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ (p<0.05)
                         เป็นร้อยละ 30.00 ในการตรวจติดตามครั้งที่ 1 และเป็นร้อยละ 18.00

                          ในการตรวจติดตามครั้งที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดพยาธิที่ก่อโรค
                         พบเหลือเพียงร้อยละ  1.60  ในการตรวจติดตามครั้งที่  1  และไม่พบ
                         การติดพยาธิก่อโรคเลยในการตรวจติดตามครั้งที่ 2 แนวทางแก้ปัญหา
                         ในครั้งนี้  คือ  การร่วมมือกันของทุกฝ่ายคณะทำางานฯ  เพื่อเสริมสร้าง
                         สุขอนามัยให้แก่นักเรียน และให้ยาถ่ายพยาธิทุก 6 เดือน หรืออย่างน้อย
                         ปีละ 1 ครั้ง
                                อย่างไรก็ตามในนักเรียนบางกลุ่ม  เช่น  กลุ่มนักเรียนนอน
                         ประจำา ในช่วงปิดเทอมเดินทางกลับบ้านไปสู่ครอบครัวมีความชุกของ
                         ติดพยาธิเพิ่มสูงขึ้นภายหลังการตรวจติดตาม  จึงอาจเป็นไปได้ว่านักเรียน
                         มีการติดเชื้อซ�จากบุคคลในครอบครัว  ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพและ
                         ให้ความรู้สุขลักษณะส่วนบุคคลอย่างต่อเนื่อง  จึงจำาเป็นต้องทำาใน
                         ครอบครัวของนักเรียนและชุมชนรอบโรงเรียนด้วย  เพื่อลดปัญหาการ

                         ติดพยาธิในลำาไส้อย่างยั่งยืน  รวมถึงควรส่งเสริมให้นักเรียน  ครู  และ
                         ผู้ปกครองในชุมชนพื้นที่ อำาเภออมก๋อย ตระหนักถึงการอันตรายที่
                         เกิดจากติดพยาธิในลำาไส้  และร่วมกันดูแลสุขอนามัยและสุขลักษณะ
                         ของตนเอง และส่งเสริมสุขภาพให้แก่ผู้อื่น
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23