Page 14 - Annal Report Ed-CMU 2019
P. 14
11
อำาเภออมก๋อย ถือว่าเป็นอำาเภอหนึ่งที่อยู่ห่างไกลจากตัวอำาเภอเมืองของจังหวัดเชียงใหม่มาก ซึ่งใช้เวลาเดินทางโดยใช้รถส่วนตัวประมาณ
3 ชั่วโมงด้วยระยะทางเกือบ 300 กิโลเมตร การคมนาคมค่อนข้างลำาบากยิ่งเฉพาะในหน้าฝน เนื่องจากส่วนใหญ่ยังเป็นถนนลูกรัง ทำาให้การเดิน
ทางค่อนข้างนาน และมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง ทั้งนี้พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงและชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมแบบเชิงเดี่ยวมีการ
ใช้สารเคมีในปริมาณมาก เช่นในพื้นที่ตำาบลนาเกียน ได้แก่บ้านอูตูม ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม พืชที่เพาะปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ
ได้แก่ พริก มะเขือเทศ เป็นต้น และด้วยอุปสรรคในการเดินทางที่แม้ว่าจะอยู่ห่างจากตัวอำาเภอเพียงแค่ 30 กว่ากิโลเมตร แต่กลับใช้เวลาเกือบ 2
ชั่วโมง ทำาให้ชุมชนเหล่านั้นยังคงซึ่งความเป็นอยู่ไม่ต่างจากเดิมมาก โดยมีชาวบ้านบางส่วนรวมกลุ่มในการผลิตพืชผักโดยไม่ใช้สารเคมีสำาหรับการ
บริโภคในครัวเรือน ซึ่งแตกต่างจากหน่วยงานในพื้นที่ที่ต้องซื้อเสบียงอาหาร และของใช้ต่างๆ ไปใช้ในการอยู่อาศัยในพื้นที่ โดยต้องเดินทางด้วย
ความยากลำาบากเข้ามาในตัวอำาเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่อย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง เกิดความต้องการเกิดความต้องการแก้ไขปัญหาด้านอาหาร เพื่อ
ประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ความสะดวก และความปลอดภัยจากอาหารที่ใช้บริโภค จึงได้สนับสนุนชุมชนให้สร้างแหล่งอาหาร
ปลอดภัยไว้ในชุมชนโดยชุมชนเป็นผู้ผลิตเองและหน่วยงานเป็นตลาดรองรับผลผลิต นอกจากจะได้อาหารที่ปลอดภัยแล้วยังช่วยส่งเสริมรายได้ให้แก่
คนในชุมชน และสิ่งสำาคัญที่สุดคือ ช่วยลดผลกระทบของสารเคมีต่อสุขภาพ เพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังในอนาคตได้
ส่วนอำาเภอสันป่าตอง เป็นพื้นที่ไม่ห่างจากตัวอำาเภอเมืองมากนัก มีการคมนาคมที่สะดวกสบาย เป็นชุมชนกึ่งเมือง แต่ส่วนใหญ่ประชาชน
ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งมีการใช้สารเคมีในปริมาณมากเพื่อให้ได้ผลผลิตตรงตามความต้องการของตลาดโดยไม่ได้คำานึงถึงผลเสียจากการใช้
สารเคมีเหล่านั้น ทั้งนี้ ทางพื้นที่ตำาบลทุ่งสะโตก นำาโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลตำาลทุ่งสะโตกได้ให้ความสำาคัญของปัญหาด้านสารเคมีต่อสุขภาพ
โดยนำาร่องปลูกพืชผักไว้บริโภคในครัวเรือน และใช้เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารในร้านอาหาร รวมทั้งขยายผลการสร้างแหล่งอาหารปลอดภัย
ให้ทั่วเขตรับผิดชอบ นั่นหมายถึงการกระจายในทุกหมู่บ้าน ของตำาบลทุ่งสะโตก อำาเภอสันป่าตอง พร้อมกันนั้น พบว่าชุมชนบ้านป่าจี้ หนึ่งในหมู่บ้าน
ที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของตำาบลทุ่งสะโตก ได้ให้ความสำาคัญของปัญหาด้านสารเคมีเช่นเดียวกัน เนื่องจากมีชาวบ้านจำานวนมากที่มีความต้องการให้
เกิดแนวทางในการแก้ไขปัญหาสารเคมี เพื่อลดความเสี่ยงจากการรับสัมผัสสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย และทำาให้สิ่งแวดล้อมปนเปือนไปด้วยสารเคมี
จากผลการดำาเนินงานในปี 2561 พบว่า ในอำาเภออมก๋อยมีผลการตรวจระดับสารเคมีในเลือดด้วยกระดาษทดสอบเบื้องต้นในระดับเสี่ยง
ร้อยละ 58.7 ระดับไม่ปลอดภัยร้อยละ 10.9 และในระดับปลอดภัยร้อยละ 30.4 ส่วนอำาเภอสันป่าตอง พบว่าผลการตรวจระดับสารเคมีในเลือด
ด้วยกระดาษทดสอบเบื้องต้นส่วนใหญ่อยู่ในระดับที่เสี่ยงร้อยละ 73.3 ระดับไม่ปลอดภัยร้อยละ 6.7 และระดับปลอดภัยเพียงร้อยละ 20.0 จะเห็นว่า
ข้อมูลของเจ้าหน้าที่ทั้งสองพื้นที่มีความเสี่ยงจากการรับสัมผัสสารเคมีค่อนข้างมาก จึงทำาให้กลุ่มเจ้าหน้าที่เองเกิดความตระหนัก และความต้องการ
แก้ไขปัญหาสารเคมีอย่างจริงจัง ทำาให้เกิดการรวมกลุ่มของเจ้าที่ เพื่อวางแผน หาแนวทางแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ รวมไป
ถึงการการติดตาม ควบคุมการลดการใช้สารเคมีในชุมชน ในส่วนของชาวบ้านเกิดความตระหนักมากขึ้นมีการรวมกลุ่มในการผลิตพืชผักปลอดสาร
เคมีสำาหรับการริโภค และเหลือขายวางจำาหน่ายในพื้นที่ เกิดเป็นรายได้นำามาจุนเจือครอบครัวได้