Page 10 - Annal Report Ed-CMU 2019
P. 10

7


















                 กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เริ่มต้นจากการลงพื้นที่อย่าง

          ต่อเนื่อง  โดยการสำารวจความต้องการและปัญหาในด้านการปลูกและ
          ผลิตข้าวของเกษตรกร  จากนั้นจึงจัดทำาการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อ
          ให้ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ผู้สนใจและเกษตรกร จำานวน 7
          หมู่บ้าน โดยมีเกษตรกรสนใจเข้าร่วมรับฟังทั้งหมด 255 คน อีกทั้งทาง
          โครงการได้ร่วมมือกับเกษตรกรในพื้นที่เพื่อจัดทำาแปลงสาธิตในการปลูก
          ข้าวทั้งสภาพนา โดยทำาการปลูกพันธุ์ข้าว Oryza sativa L. ที่มีลักษณะ
          ดีที่นำามาจากแหล่งอื่นๆ (ชุมชนบนพื้นที่สูงจากแหล่งอื่น) จำานวน 4 พันธุ์
          โดยนำามาปลูกร่วมกับพันธุ์ที่เกษตรกรปลูกอยู่เดิม มีแปลงทดลองดังนี้
                 ในพื้นที่สภาพที่นา พันธุ์ท้องถิ่น คือ พันธุ์บือโป๊ะโล๊ะ พันธุ์นำาเข้า

          ได้แก่ พันธุ์ทับทิมชุมแพ พันธุ์บือเนอมู และพันธุ์ก�ดอยสะเก็ด
                 ในพื้นที่สภาพที่ไร่ พันธุ์ท้องถิ่น คือ พันธุ์บือกี่ พันธุ์นำาเข้า ได้แก่
          พันธุ์บือซาโล พันธุ์บือซูคี และพันธุ์ปิอิ๊บอ
                 จากการทำาแปลงสาธิตเกิดจุดถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ข้าว
          ให้กับผู้ที่สนใจทั้งนักเรียนและเกษตรกร ในพื้นที่เพื่อเข้ามาศึกษาแลกเปลี่ยน
          ความรู้ พร้อมนำาเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ในห้องเรียนมาศึกษา
          ปรับใช้ในสภาพพื้นที่จริง รวมทั้งการผสมผสานระหว่างวิทยาศาสตร์
          และภูมิปัญญา  เกิดเป็นความรู้เชิงประสบการณ์ที่เป็นต้นน�แห่งความรู้
          จริงจากการปฏิบัติร่วมกัน  รวมไปถึงการสร้างเครือข่ายของเกษตรกรผู้
          ปลูกและผลิตข้าว  โดยการนำากลุ่มเกษตรกรไปศึกษาดูงานนอกสถานที่
          เกี่ยวกับการปลูกและผลิตข้าวของกลุ่มเกษตรกรที่ประสบความสำาเร็จ

          และหน่วยงานในส่วนของภาครัฐและเอกชน
                 จากความร่วมมือดังกล่าวทำาให้เกษตรกรในพื้นที่มีโอกาสสร้าง
          กระบวนการเรียนรู้  ได้ศึกษาระบบนิเวศน์แปลงข้าว  ได้เห็นการเจริญ
          เติบโตของต้นข้าวครบทั้งวงจร รวมทั้งพบเห็นปัญหาต่างๆ ก็สามารถ
          นำามาแลกเปลี่ยน หาทางออกของปัญญาร่วมกัน ทำาให้เกิดการเรียนรู้ซึ่ง
          กันและกัน ได้ความรู้ใหม่ๆ ได้เห็นระบบนิเวศน์แปลงนา ซึ่งนำาไปสู่การ
          วางแผนการปลูกข้าวในพื้นที่สูงอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ
          เลือกใช้พันธุ์ข้าว พันธุ์พื้นเมืองที่มีความหลากหลาย ซึ่งแต่ละสายพันธุ์มี
          ศักยภาพเฉพาะเพื่อเพิ่มผลผลิตและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15