Page 252 - 57 คู่มือปฏิบัติงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม
P. 252

๒๕๑


                  นอกจากนี้ ยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บริหารทราบจุดเด่น จุดด้อย ระดับขีดความสามารถ และศักยภาพ
                  ของครูและบุคลากรทางการศึกษา
                         จากความหมายข้างต้น สรุปได้ว่า การประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นกระบวนการประเมินค่า

                  ของบุคคลผู้ปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ ทั้งผลงานและคุณลักษณะอื่น ๆ ที่มีคุณค่าต่อการปฏิบัติงานภายใน
                  ระยะเวลาที่ก าหนดไว้อย่างแน่นอน ภายใต้การสังเกต จดบันทึกและประเมินโดยหัวหน้างาน โดยอยู่บนพื้นฐาน
                  ของความเป็นระบบและมีมาตรฐานแบบเดียวกัน มีเกณฑ์การประเมินที่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติ

                  ให้ความเป็นธรรมโดยทั่วกัน
                         เครื่องมือการประเมินผลการปฏิบัติงาน
                         ๑. ศูนย์การประเมินผล (Assessment Center)
                             ศูนย์การประเมินผล (Assessment Center) เป็นเทคนิคและกระบวนการที่ใช้ในการประเมิน

                  ศักยภาพของบุคคล เพื่อเข้าสู่สายงานในระดับบริหารโดยรวมเทคนิคการประเมินผลหลาย ๆ อย่าง
                  เข้าด้วยกัน การประเมินผลโดยวิธีนี้ ผู้ประเมินและผู้ถูกประเมินต้องใช้เวลาร่วมกันหลายวัน
                  การใช้แบบทดสอบขึ้นอยู่กับลักษณะขององค์กรงานหรือต าแหน่งนั้นๆวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้คนที่มีศักยภาพ
                  สูงและมีคุณสมบัติตรงกับความต้องการขององค์กร

                         ๒. ตัวชี้วัดผลงานหลัก (Key Performance  Indecators : KPIs)
                             การชี้วัดผลงานหลัก (Key Performance Indicator - KPIs) KPIs หมายถึง ตัวบ่งชี้ถึงผลงานหลัก
                  ที่มีความส าคัญและส่งผลกระทบต่อความส าเร็จของผลงานที่ต้องการในต าแหน่งงานนั้น ๆ กระบวนการ
                  ก าหนดตัวชี้วัดผลงานหลัก (KPIs)

                                ๑) ระบุกิจกรรมของต าแหน่งงานเพื่อให้ทราบต าแหน่งนั้น ๆ มีกิจกรรมใดบ้าง ซึ่งสามารถ
                                   พิจารณาจากลักษณะงาน
                                ๒) ก าหนดผลงานที่ต้องการ การพิจารณาผลงานที่องค์กรต้องการ จากงานหรือกิจกรรมนั้นๆ

                                   ว่าคืออะไร งานหนึ่ง ๆ อาจมีผลงานที่ต้องการมากกว่าหนึ่งอย่างก็ได้
                                ๓) การจัดกลุ่มของผลงาน มีการจัดกลุ่มผลงานที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เป็น ๓ – ๗ กลุ่ม
                                ๔) การก าหนดชื่อของกลุ่มผลงานเมื่อจัดกลุ่มผลงานแล้ว ขั้นต่อไป คือ การก าหนดชื่อ
                                   KPIs ส าหรับกลุ่มผลงานนั้นๆ โดยใช้ค าหรือข้อความที่สะท้อนให้เห็นถึงผลงานในภาพรวม
                                ๕) การก าหนดตัวชี้วัดย่อย (Objectives) ของ KPIs การก าหนดตัวชี้วัดย่อยหลัก

                                   มีดังต่อไปนี้ คือ
                                   - ความเฉพาะเจาะจง - สามารถวัดได้ - ความเป็นไปได้  - เวลา - ตรวจสอบได้
                                ๖) ก าหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติ งานประจ าปี การน า KPIs  และตัวชี้วัดย่อยไปตั้งเป็น

                                   เป้าหมายในการประเมินผลงานประจ าปี ทั้งนี้ KPIs ของแต่ละต าแหน่งงานและตัวชี้วัด
                                   ย่อยสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และเป้าหมายของแต่ละ
                                   องค์กร

















                                                                                               คู่มือปฏิบัติงาน
                                                                           โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
   247   248   249   250   251   252   253   254   255   256   257