Page 79 - 57 คู่มือปฏิบัติงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม
P. 79
๗๑
แนวด าเนินการพัฒนาและประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
สถานศึกษาควรด าเนินการพัฒนาและประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน
เป็นกระบวนอย่างชัดเช่น สามารถตรวจสอบด าเนินงานได้ การพัฒนาและประเมินความสามารถในการอ่าน
คิดวิเคราะห์ และเขียน สถานศึกษาอาจด าเนินการตามกระบวนการต่อไปนี้
๑) แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาและประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน
ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้แทนคณะกรรมการบริหารโรงเรียน ผู้แทนครูผู้สอน ผู้แทน
ผู้ปกครองนักเรียน และผู้แทนนักเรียน เพื่อก าหนดแนวทางในการพัฒนา ประเมิน ปรับปรุงแก้ไข และ
ตัดสินผลการประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน รายภาค (ระดับมัธยมศึกษา) และจบ
การศึกษาแต่ละระดับชั้น
๒) ศึกษานิยามหรือความหมายของความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนก าหนด
ขอบเขต และตัวชี้วัดที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ให้สอดคล้องกับบริบท
และจุดเน้นของสถานศึกษาในแต่ละระดับการศึกษา
๓) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันศึกษาหลักการประเมิน และพิจารณาก าหนดรูปแบบ วิธีการพัฒนา
และประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนของสถานศึกษา
๔) ก าหนดแนวทางการพัฒนาและประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
ให้สอดคล้องกับขอบเขตและตัวชี้วัดที่ก าหนดใน ข้อ ๒ และก าหนดระดับคุณภาพ หรือเกณฑ์ประเมิน
เป็น ๔ ระดับ คือดีเยี่ยม ดี ผ่าน และไม่ผ่าน เพื่อใช้ในการตัดสินผลรายปี (ระดับประถมศึกษา) รายภาค
(ระดับมัธยมศึกษา) และจบการศึกษาแต่ละระดับชั้น
๕) ด าเนินการพัฒนา ประเมินและปรับปรุงแก้ไขความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน
ตามรูปแบบและวิธีการที่ก าหนดอย่างต่อเนื่อง
๖) สรุปและตัดสินผลการประเมิน บันทึกและรายงานผลการประเมินความสามารถในการอ่าน
คิดวิเคราะห์ และเขียน ต่อผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความชัดเจนต่อผู้ปฏิบัติในการประเมินความสามารถด้าน
การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน จึงได้ก าหนดความหมายและขอบเขตการประเมินเป็นระดับชั้น
ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้เป็นกรอบในการประเมินเพื่อตัดสินการ
เลื่อนชั้นและจบการศึกษาแต่ระดับ
ความส าคัญของการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน เป็นการประเมินศักยภาพของผู้เรียนในการอ่าน
จากหนังสือ ต าราเรียน เอกสาร และสื่อต่างๆ เพื่อหาและหรือเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ ความสุนทรีย์
และประยุกต์ใช้ แล้วน าเนื้อหาสาระที่อ่านมาคิดวิเคราะห์ น าไปสู่แสดงความคิดเห็น การสังเคราะห์
สร้างสรรค์ การแก้ปัญหาในเรื่องต่างๆ และถ่ายทอดความคิดนั้นด้วยการเขียนที่มีส านวนภาษาถูกต้อง มี
เหตุผลและล าดับขั้นตอนในการน าเสนอ สามารถสร้างความเข้าใจแก่ผู้อ่านได้อย่างชัดเจนตามระดับ
ความสามารถในแต่ระดับชั้น
คู่มือปฏิบัติงาน
โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา