Page 83 - 57 คู่มือปฏิบัติงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม
P. 83

๗๕


                         ๓)  ขอบเขตและตัวชี้วัดอะไรบ้างที่จะท าการประเมิน
                         การเตรียมการประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนเกี่ยวกับความสามารถการอ่านคิดวิเคราะห์  และ

                  เขียน ครูควรพิจารณาถึงความสามารถผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษาจะสามารถท าได้ผลงานจากการเขียน
                  สื่อสารความรู้  ความคิด  ความรู้สึก  เจตคติ  แล้วยังเป็นหลักฐานที่แสดงออกถึงความสามารถในการคิด
                  วิเคราะห์อีกด้วย และถ้าหากผลงานเขียนชิ้นเดียวนั้นมาจากการคิดในสิ่งที่อ่านเป็นหลักฐานที่ใช้ประเมินได้
                  ทั้งการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ดังนั้น ครูต้องศึกษาขอบเขต และตัวชี้วัดการประเมินก่อนจึงจะช่วยให้

                  เลือกวิธีการที่จะใช้ในการประเมินการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียนได้อย่างเหมาะสม
                         ๔)  ผลของการประเมินจะรายงานอย่างไร
                         การรายงานผลการประเมินเป็นสิ่งส าคัญ  ครูจะต้องด าเนินการอย่างรวดเร็วและเชื่อถือได้มีความ
                  ถูกต้องครบถ้วน การรายงานผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ขึ้นอยู่กับการออกแบบ

                  การจัดการเรียนรู้  การวางแผนร่วมกันของผู้บริหาร  ครู  และคณะกรรมการประเมินการอ่าน  คิด
                  วิเคราะห์ และเขียน จะจัดให้มีการรายงานกี่ครั้ง ทั้งนี้ ควรจัดให้มีการรายงานผลการประเมินระหว่าง
                  พัฒนาการ เเละผลการประเมินสรุปแบบรายงานผลการประเมินควรออกแบบอย่างง่ายต่อการสื่อ

                  ความหมาย และท าให้เห็นร่องรอยของพัฒนาการ  ไม่ควรเปรียบเทียบกับผู้เรียนคนอื่น  และเป็นการ
                  รายงานที่รวดเร็วให้ความยุติธรรมแก่ผู้เรียนเที่ยงตรงและเชื่อถือได้
                         ๕)  วิธีการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ท าได้อย่างไร
                         สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินความสามารถการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนตามแนว
                  ทางการพัฒนาการอ่าน  คิดวิเคราะห์  และเขียน  แล้วร่วมกันก าหนดรูปแบบการประเมินที่เหมาะสม

                  กับสภาพความพร้อมและบริบทของโรงเรียนที่สามารถด าเนินการประเมินความสามารถการอ่าน  คิด
                  วิเคราะห์  และเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ส่วนมากสถานศึกษามักจะบูรณาการร่วมกับกลุ่มสาระการ
                  เรียนรู้ทั้ง ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือใช้หลายๆ รูปแบบ เช่น การมอบหมายงานให้ผู้เรียนปฏิบัติจัดท าเป็น

                  โครงการ/กิจกรรมการบูรณาการเข้ากับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  และการใช้แบบทดสอบมาตรฐานทดสอบ
                  ผู้เรียนทุกคน ทั้งนี้ ควรเลือกให้เหมาะสมกับสถานศึกษา และไม่ควรเพิ่มภาระงานและเวลาของครูมากนัก
                         ๖)   จะประเมินความสามารถการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ได้ในเวลาใด
                         การประเมินการอ่าน  คิดวิเคราะห์  และเขียน  ควรประเมินในห้องเรียนตามปกติเป็นดีที่สุด

                  หรือใช้เวลานอกห้องเรียนจากการมอบหมายให้ผู้เรียนท างานกลุ่มที่สะท้อนความสามารถในการอ่าน
                  คิดวิเคราะห์  และเขียนเป็นพิเศษ  จัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการประเมินเป็นครั้งๆ แล้วน าผลมา
                  สรุปรวม  โดยควรแบ่งระยะเวลาสรุปเป็นช่วงๆ  ทั้งนี้  คณะกรรมการประเมินควรร่วมกันพิจารณาเพื่อมุ่ง
                  พัฒนาผู้เรียนให้ไปสู่ตัวชี้วัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน


                         เกณฑ์การตัดสินคุณภาพการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน

                         การประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์  เเละเขียนของผู้เรียนเพื่อเลื่อนชั้นและจบ
                  การศึกษาแต่ละระดับการศึกษา ตามเกณฑ์ที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
                  และสถานศึกษาก าหนด  การตัดสินผลการประเมินเพื่อเลื่อนชั้นใช้ผลการประเมินปลายปี  ส่วนการตัดสิน
                  การจบระดับการศึกษา ใช้ผลการประเมินปลายปีสุดท้ายของระดับการศึกษา











                                                                                               คู่มือปฏิบัติงาน
                                                                           โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88