Page 88 - 57 คู่มือปฏิบัติงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม
P. 88
๘๐
คณะกรรมการชุดนี้จะท างานร่วมกับครูประจ าชั้น หรือครูที่ปรึกษา หรือครูท่านอื่นที่สนใจท ากรณีศึกษา
รวมกัน นอกจากนี้ อาจน าสภานักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้วย
โดยสถานศึกษารับฟังความคิดเห็นของสภานักเรียนถึงวิธีการที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
สถานศึกษาที่มีความพร้อมสูงสามารถเลือกใช้รูปแบบการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ที่สอดแทรกการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้งในชั่วโมงการเรียนของผู้เรียนและการเชิญผู้เรียน
มาท าความเข้าใจเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มย่อย เมื่อพบว่าผู้เรียนคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มเล็กๆ มีคุณลักษณะ
บางประการอยู่ในระดับที่ไม่น่าพึงพอใจ เป็นการอบรมสั่งสอนในลักษณะกัลยาณมิตร แบบพ่อแม่สอนลูก
ที่มีบรรยากาศของความรักและห่วงใย นอกจากนี้ สถานศึกษายังอาจจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ของผู้เรียนเพิ่มเติม ในรูปของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนหรือเป็นกิจกรรมเสริมจุดเน้นของ
สถานศึกษาก็ได้ เช่น โครงการค่ายอบรมวิปัสสนากรรมฐานประจ าปี โครงการศึกษาเรียนรู้นอกสถานที่
โครงการเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น โดยที่ทุกกิจกรรมไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการเรียนหรือ
กิจกรรมเสริม จะเน้นการพัฒนาและตรวจสอบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตลอดเวลา ไม่ได้ค านึงว่าจะ
สอดคล้องกับมาตรฐานหรือตัวชี้วัดในบทเรียนหรือไม่ ทั้งนี้ สถานศึกษาอาจมีเป้าหมายว่า ผู้เรียนร้อยละ
๘๐ ขึ้นไป จะต้องมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับ “ดี” เป็นอย่างน้อย
การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ควรแยกจากการประเมินของกลุ่มสาระการเรียนรู้
โดยสามารถด าเนินการได้ดังนี้
๑) คณะกรรมการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา ท าความ
เข้าใจกับคณะครูผู้สอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา ครูที่ปรึกษา ครูผู้ดูแลกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ถึงนโยบายของสถานศึกษา ในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โดยขอให้ครูที่ปรึกษาครู
ประจ าสาระวิชา ครูผู้รับผิดชอบโครงการต่างๆ ได้ให้ความสนใจร่วมกันพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ของผู้เรียนทุกข้อ และร่วมก าหนดตัวชี้วัดหรือพฤติกรรมบ่งชี้หรือพฤติกรรมที่แสดงออกของแต่ละ
คุณลักษณะตามที่คณะกรรมการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษาได้วิเคราะห์
ให้เหมาะสมกับธรรมชาติของวัยและวุฒิภาวะของผู้เรียน
๒) ก าหนดเกณฑ์และค าอธิบายระดับคุณภาพ ให้สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินที่
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ก าหนด
๓) ก าหนดวิธีการและเครื่องมือการประเมินให้เหมาะสมกับตัวชี้วัด
๔) ด าเนินการประเมินผู้เรียนอย่างต่อเนื่องและรายงานผลการประเมินเป็นระยะๆ
๕) ก าหนดระดับของพฤติกรรมบ่งชี้ว่า พฤติกรรมผู้เรียนอยู่ในระดับ“ เสี่ยง” กล่าวคือ
การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนด้วยวิธีธรรมดา อาจจะไม่สามารถท าให้ผู้เรียนบรรลุ
ตามเกณฑ์ได้ ครูที่ปรึกษาหรือครูผู้สอนร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ของสถานศึกษา ต้องใช้กระบวนการวิจัยเข้ามาช่วยในการแก้ปัญหาโดยอาจท ากรณีศึกษา
๖) เมื่อสิ้นภาคเรียน/สิ้นปี ครูผู้สอนแต่ละคนส่งผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ของผู้เรียนทุกคนที่รับผิดชอบให้คณะกรรมการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ
สถานศึกษา โดยมีครูวัดผลเป็นเลขานุการ
๗) ครูวัดผลด าเนินการประมวลผลตามเกณฑ์ที่สถานศึกษาก าหนด
๘) เสนอผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อพิจารณาอนุมัติ
คู่มือปฏิบัติงาน
โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา