Page 85 - 57 คู่มือปฏิบัติงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม
P. 85

๗๗


                         การใช้ผลการประเมินระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเป็นข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียน
                         ส าหรับการปรับปรุงพัฒนา ดูความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรคในการเรียน เน้นลักษณะการประเมิน

                  เพื่อการเรียนรู้ (Assessment for Learning) มากกว่าการประเมินเพื่อสรุปผลการเรียนรู้ (Assessment of
                  Learning) มีผลการวิจัยระบุว่าการใช้ข้อมูลย้อนกลับด้วยค าพูดจะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา


                         การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
                         หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เป็นหลักสูตรอิงมาตรฐานซึ่งก าหนด
                  สิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ไว้ในมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ซึ่งจะประกอบด้วยความรู้ ความสามารถ

                  คุณธรรมจริยธรรม  ค่านิยมที่พึงประสงค์ เมื่อผู้เรียนได้รับการพัฒนาไปเเล้ว นอกจากจะมีความรู้ความสามารถ
                  ตลอดจนคุณธรรมจริยธรรมที่ก าหนดไว้ในมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดแล้ว  จะน าไปสู่การมีสมรรถนะ
                  ส าคัญ  ๕  ประการ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘  ประการอีกด้วย  คุณลักษณะอันพึงประสงค์
                  ที่หลักสูตรก าหนดนั้นต้องได้รับการปลูกฝัง  และพัฒนาผ่านการจัดการเรียนการสอน  การปฏิบัติกิจกรรม
                  พัฒนาผู้เรียนในลักษณะต่างๆ


                         คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในตัวผู้เรียน
                         การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ต้องใช้ข้อมูลจากการสังเกตพฤติกรรม ซึ่งใช้เวลาในการเก็บ

                  ข้อมูลพฤติกรรมเพื่อน ามาประเมินและตัดสินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ หมายถึง ลักษณะที่สังคมต้องการ
                  ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนในด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตส านึก สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมี
                  ความสุข  ทั้งในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก  ตามที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช

                  ๒๕๕๑ ก าหนด ซึ่งมีอยู่ ๘ คุณลักษณะ ได้แก่ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้อยู่อย่าง
                  พอเพียง มุ่งมั่นในการท างาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ
                         เอกสารนี้ได้น าเสนอนิยาม ตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้ง ๘ คุณลักษณะ
                  ซึ่งสถานศึกษาสามารถน าไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ได้


                         แนวด าเนินการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
                         การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษาจะบรรลุผลได้นั้น  ต้องอาศัยการบริหาร

                  จัดการและการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู
                  ที่ปรึกษา  ครูผู้สอน  ผู้ปกครองและชุมชนที่ต้องขัดเกลา  บ่มเพาะ  ปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้
                  เกิดขึ้นแก่ผู้เรียน
                         ในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์สามารถกระท าได้โดยน าพฤติกรรมบ่งชี้  หรือพฤติกรรม

                  ที่แสดงออกของคุณลักษณ์  แต่ละด้านที่วิเคราะห์  บูรณาการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของกลุ่มสาระ
                  การเรียนรู้ต่างๆ ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโครงการพิเศษต่างๆ ที่สถานศึกษาจัดท าขึ้นเช่น โครงการวันพ่อ
                  วันแม่แห่งชาติ โครงการลดภาวะโลกร้อน วันรักษ์สิ่งแวดล้อม แห่เทียนพรรษาตามรอยคนดี หรือวันส าคัญ
                  ทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น

                         ในการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นั้น  สถานศึกษาควรจัดให้มีการประเมินเป็นระยะๆ
                  โดยอาจประเมินผลเป็นรายสัปดาห์  รายเดือน  รายภาค  หรือรายปี  เพื่อให้มีการสั่งสม และการพัฒนา
                  อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการน าไปใช้ในชีวิตประจ าวัน แล้วสรุปปรับเงินผลเมื่อจบปีสุดท้ายของแต่ละระดับ

                  การศึกษา





                                                                                               คู่มือปฏิบัติงาน
                                                                           โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90