Page 82 - 57 คู่มือปฏิบัติงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม
P. 82

๗๔


                  ความรู้ความเข้าใจ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แก้ปัญหาและสร้างสรรค์จินตนาการอย่าง
                  เหมาะสมและมีคุณค่า เช่น โครงการรักอ่าน รักการเขียน เป็นต้น รูปแบบนี้เหมาะส าหรับโรงเรียนที่มีความ

                  พร้อมมาก มีขนาดใหญ่หรือขนาดใหญู่พิเศษ

                         รูปแบบที่  ๔  การบูรณาการตัวชี้วัดการประเมินความสามารถในการอ่าน  คิดวิเคราะห์ และ

                  เขียน ร่วมกับการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
                         ศึกษาตัวชี้วัด ขอบเขต เกณฑ์ และแนวการให้คะแนน (Rubric) ของการประเมินความสามารถใน
                  การอ่าน  คิดวิเคราะห์  และเขียน  แล้วบูรณาการเข้ากับแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนน าแผนการจัด

                  กิจกรรมไปสู่การปฏิบัติ  และประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมตามภาระงานที่ได้เรียนรู้ผลงานที่เกี่ยวข้องกับ
                  การประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนตามกิจกรรมนับเป็นการประเมินที่น าข้อมูลมา
                  ตัดสินผลการประเมินการอ่าน  คิดวิเคราะห์  และเขียนได้  โดยน าไปเทียบกับเกณฑ์และแนวทางการให้
                  คะแนน (Rubric) ตามที่สถานศึกษาก าหนด ไปแบบนี้มีความเหมาะสมกับโรงเรียนที่มีความพร้อมปานกลาง
                  มีครูที่ครบชั้นเรียนและมีครูพิเศษบ้าง ครูคนหนึ่งอาจรับผิดชอบทั้งงานสอนและงานพิเศษ


                         วิธีการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
                         วิธีการประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ควรจัดในระหว่างการเรียนการ

                  สอนในห้องเรียนตามปกติเป็นดีที่สุด  ไม่ควรแยกมาจัดสอบเหมือนการสอบปลายภาคหรือปลายปี
                  ของการจบการศึกษาภาคบังคับ  และการจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ยกเว้นถ้าสถานศึกษาได้พัฒนา
                  แบบทดสอบหลายๆ ด้าน โดยน ามาใช้ประเมินเพื่อตรวจสอบพัฒนาการของผู้เรียน ในการอ่าน คิดวิเคราะห์

                  และเขียน ในระหว่างการเรียนการสอนแล้วน ามาสรุปผลเป็นระยะๆ ส าหรับรายงานผลความก้าวหน้าเมื่อ
                  เทียบกับเกณฑ์การประเมินที่สถานศึกษาก าหนดไว้ ทั้งนี้ ก่อนที่จะท าการประเมินผลสิ่งใด ผู้ที่ประเมินควร
                  ท าความเข้าใจสิ่งที่จะประเมินให้ชัดเจนครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้
                         ๑)  อะไรคือสิ่งที่จะท าการประเมิน

                         ผู้ประเมินต้องศึกษาความหมาย  ขอบเขตและตัวชี้วัดของความสามารถการอ่านคิดวิเคราะห์
                  และเขียน  ให้เข้าใจว่า  เราต้องการให้ผู้เรียนคิดในสิ่งที่อ่าน  อ่านโดยใช้กระบวนการคิด  ที่มีประสิทธิภาพ
                  ทั้งนี้  ควรค านึงถึงการประเมินผลให้เป็นการประเมินลักษณะองค์รวม  โดยประเมินผลงานที่เป็นการเขียน
                  ตามเกณฑ์ที่ครอบคลุมความสามารถในการอ่าน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และความสามารถในการ

                  เขียนที่อธิบายระดับคุณภาพที่ยอมรับได้ไว้ก่อน  และควรแจ้งให้พ่อแม่  ผู้ปกครอง  และคณะกรรมการ
                  สถานศึกษาได้ทราบล่วงหน้าก่อนจัดการเรียนการสอน
                         ๒)  อะไรคือเป้าหมายของการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
                         ก่อนจะเลือกวิธีการหรือเครื่องมือประเมินผลที่เหมาะสม  การก าหนดเป้าหมายของการประเมิน

                  ความสามารถการอ่าน  คิดวิเคราะห์  และเขียน  เป็นสิ่งที่ต้องตัดสินใจเป็นอันดับแรกมีเป้าหมาย
                  เพื่อน าผลการประเมินไปใช้ในการตัดสินการเลื่อนชั้นการตัดสินการจบการศึกษาภาคบังคับ
                  และการจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งเพื่อน าข้อมูลที่ได้จากผลการประเมินไปใช้วางแผนปรับปรุงพัฒนา

                  ความสามารถผู้เรียนไปสู่เกณฑ์ที่สถานศึกษาก าหนด











                  คู่มือปฏิบัติงาน
                  โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87