Page 91 - 57 คู่มือปฏิบัติงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม
P. 91
๘๓
การออกแบบการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
เมื่อท าความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ เครื่องมือที่จะใช้ในการวัดและประเมิน
และวิธีการหาคุณภาพของเครื่องมือเเล้ว ครูผู้สอนสามารถออกแบบการวัดและประเมินผลคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ในชั้นเรียนได้ ดังนี้
๑) ก าหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์/ตัวชี้วัด/พฤติกรรมบ่งชี้ที่จะประเมิน
๒) วิเคราะห์พฤติกรรมส าคัญของพฤติกรรมบ่งชี้ที่จะประเมิน
๓) เลือกใช้วิธีการ เครื่องมือให้เหมาะสมกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่จะประเมิน
๔) ก าหนดเกณฑ์การให้คะแนน (sconing Rubnics)
ดังตัวอย่างการออกแบบการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านมีวินัยในตารางที่ ๓.๑
การสร้างเครื่องมือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
เครื่องมือวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่นิยมใช้ในสถานศึกษา เนื่องจากใช้ง่าย
และสะดวก ได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบตรวจสอบรายการ แบบมาตราส่วน ประมาณค่า
แบบวัดสถานการณ์ แบบบันทึกพฤติกรรม และแบบรายงานตนเอง ครูผู้สอนควรใช้เครื่องมือ เเละวิธีการ
ตลอดจนแหล่งข้อมูลและผู้ประเมินที่หลากหลาย เพื่อให้ข้อมูลที่ได้น่าเชื่อถือ และเลือกเครื่องมือที่เหมาะสม
กับพฤติกรรมบ่งชี้
การสร้างเครื่องมือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ควรค านึงถึงการเขียนข้อความ หรือรายการ
ที่จะวัดว่ามีความชัดเจน และเป็นพฤติกรรม/รายการที่ครอบคลุมตัวชี้วัด โดยพิจารณาพฤติกรรมบ่งชี้ที่
ก าหนดไว้แล้วในคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ถ้าเป็นข้อความที่แสดงพฤติกรรมส าคัญ และยังไม่สามารถ
ประเมินได้ ครูผู้สอนต้องวิเคราะห์เป็นพฤติกรรมส าคัญย่อยๆ เช่น คุณลักษณะการมีวินัย พฤติกรรมบ่งชี้มี
๑ ข้อ คือ ปฏิบัติตามข้อบกพร่อง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับของครอบครัวโรงเรียน และ สังคม
คู่มือปฏิบัติงาน
โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา