Page 24 - รายงานปรัชญากลุ่ม3
P. 24
๒๐
กระบวนการผลิตครู
สมัยนั้นเน้นการเลือกสรรนักเรียนเป็นพิเศษไม่ใช่รับจากบุคคลทั่วไปกระบวนการคัดเลือกใช้การสังเกต
หลายขั้นตอนเป็นระยะเวลานานโดยการทดลองปฏิบัติเพื่อที่จะเลือกเฟ้นหาเอาคนที่มีพรสวรรค์ที่จะเป็นครูตั้งแต่
กำเนิดหรือเอาบุคคลที่ได้รับการฝึกให้เป็นครูแล้วมาเรียนทฤษฎีในภายหลังดังนั้นกระบวนการผลิตครูในนั้นจะเน้น
การปฏิบัติให้ชำนาญก่อนแล้วจึงเรียนรู้ทฤษฎีภายหลัง (รังสรรค์ ทิมพันธ์พงษ์. ๒๕๒๗: ๖๐-๖๑)
การพัฒนาหลักสูตรและโครงสร้าง
เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๕ มี ๒ หลักสูตรคือหลักสูตรประกาศนียบัตรครูสอนภาษาไทยและประกาศนียบัตรครูสอน
ภาษาอังกฤษ ต่อมาเปิดหลักสูตรเพื่อผลิตครูชั้นมูลศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษาและภายหลังมีหลักสูตรวิชา
ชีพและพลศึกษาเนื่องจากการขยายตัวของหลักสูตรทำให้แบ่งหลักสูตรการฝึกหัดครู ออกเป็นหลักสูตรฝึกหัด
ครูสามัญ หลักสูตรฝึกหัดครูกสิกรรม ฝึกหัดครูหัตถกรรม และฝึกหัดครูพลศึกษา ระดับของหลักสูตร เริ่มตั้งแต่
หลักสูตรครูประกาศนียบัตรจังหวัด (ว.) รับผู้จบระดับประถมศึกษามาเรียน ๑ ปี ต่อมามีหลักสูตรครูมูล (ป.)
รับผู้จบชั้นมัธยมปีที่ ๔ มาเรียนต่อ ๒ ปี หลักสูตรครูประถม (ป.ป.) รับผู้จบมัธยมปีที่ ๖ มาเรียนต่อ ๓ ปี และ
หลักสูตรประโยคครูมัธยม (ป.ม.) รับผู้จบหลักสูตรครูประถม มาเรียนต่ออีก ๒ ปี (หนึ่งศตวรรษ การฝึกหัดครูไทย.
มปป: ๑๐๐)
เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๑ มีการแบ่งการศึกษาการเล่าเรียนศึกษาที่ได้จัดอยู่ ๒ ชนิด คือการเล่าเรียนแบบสามัญ
และการเล่าเรียนพิเศษลำดับ แบ่งลำดับขั้นได้ดังนี้
การเล่าเรียนแบบสามัญ
๑.การเล่าเรียนเบื้องแรก (มูลศึกษา)
๒.การเล่าเรียนเบื้องต้น (ประถมศึกษา)
๓.การเล่าเรียนเบื้องกลาง (มัธยมศึกษา)
๔.การเล่าเรียนเบื้องสูงสุด (อุดมศึกษา)
การศึกษาพิเศษ
ชนิดการเล่าเรียนนั้น เป็นการเรียนวิชาจำเพาะสิ่งหรือความรู้อย่างให้ชำนาญ เป็นต้นว่า
๑.ฝึกหัดครูผู้เป็นอาจารย์ ผู้รับราชการฝ่ายพลเรือนและผู้รังวัดทำแผนที่