Page 25 - รายงานปรัชญากลุ่ม3
P. 25
๒๑
๒.ศึกษาศิลปะ กฎหมาย การแพทย์ และอื่นๆ
๓.ศึกษาในการช่าง หัตถกรรม ต้นกล อินเยอร์เนียร์
๔.เรียนการค้า การเพาะปลูก และอื่นๆ
๕.การสั่งสอนในวิชา และความรู้พิเศษอื่นๆ (กำธร สถิรกุล. ๒๕๐๗: ๑๑๕)
หลักสูตรการสอบไล่
การจัดชั้นการศึกษาและหลักสูตร พ.ศ. ๒๔๓๘ – ๒๔๔๔ ตามพระราชบัญญัติการสอบวิชา พ.ศ. ๒๔๓๓
นักเรียนที่สอบไล่ได้ประโยค ๒ แต่เดิม ได้ยกเว้นจากสังกัดหมู่กรม แต่ตามประกาศกรมศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๔๔๓
นักเรียนต้องสอบไล่ได้ประโยค ๒ ชั้น ๓ จึงนับว่าเป็นการสอบไล่ได้ประโยค ๒ บริบูรณ์
ประโยชน์ของหลักสูตรการสอบไล่
หลักสูตรการสอบไล่จะได้กำหนดไว้สำหรับคติการเล่าเรียนตามลำดับขั้นวิชา และศึกษาสถาน นั้น คือ
(๑) เพื่อที่จะได้ตั้งแบบแผนคติแห่งการสั่งสอนในโรงเรียนหลวงทั้งปวง
(๒) เพื่อที่จะได้ให้ผู้จัดการ และครูอาจารย์โรงเรียนทั้งหลายเป็นที่พอใจว่านักเรียนของตนได้เรียน
ดำเนินดีขึ้นอย่างไร
(๓) เพื่อที่จะได้รู้ว่า ในหมู่ผู้เล่าเรียนจะได้รับการศึกษาสมควรสำหรับที่จะได้เข้ารับราชการ หรือรับ
ราชการของเอกชนอื่นได้ดี
ลำดับชนิดการสอบไล่
วิธีการสอบไล่ที่จะตั้งขึ้นนั้น ส่วนสามัญศึกษาคือตามโรงเรียน หรือมีกำหนดสถานที่ ในจังหวัด
เพื่อที่นักเรียนจะได้มาสอบไล่ตามกำหนดขึ้นลำดับขั้นตามหลักสูตรของการศึกษา
(๑) การเล่าเรียนเบื้องต้นและเบื้องกลาง จะได้สอบไล่ตามโรงเรียนหรือมีกำหนดสถานที่ในจังหวัด
เรียน เพื่อที่นักเรียนจะได้มาสอบไล่ตามกำหนดขึ้นตามลำดับขั้นตามหลักสูตรของการศึกษา
(๒) การสอบไล่แข่งขัน สำหรับนักเรียนเข้าสอบไล่เอารางวัลทุนเล่าเรียนที่เป็นของท่านผู้ทำการ