Page 31 - 3.
P. 31
27
จุดเดือดต่างๆ กันจะระเหยเป็นแก๊สลอยขึ้นด้านบนของหอกลั่นและจะกลั่นตัวเป็น
ของเหลวในแต่ละช่วงของหอกลั่น ได้เป็นผลผลิตต่างๆ ที่มีช่วงจุดเดือดลดหลั่นกัน
ตามล าดับ เรียกการกลั่นแบบนี้ว่า การกลั่นล าดับส่วน ผลิตภัณฑ์หรือสารที่กลั่นได้แต่ละ
ช่วงจุดเดือดจะมีลักษณะและคุณสมบัติต่างกันจึงใช้ประโยชน์ในงานที่แตกต่างกัน
3. แก๊สธรรมชาติ (Natural Gas) ประเทศไทยได้มีการส ารวจแก๊สธรรมชาติใน
อ่าวไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2513 พบว่าส่วนใหญ่เป็นแก๊สมีเทน ซึ่งสามารถน ามาใช้เป็น
เชื้อเพลิงในโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม และการหุงต้มในครัวเรือน
และยังพบแหล่งแก๊สบนแผ่นดินที่อ าเภอน้ าพอง จังหวัดขอนแก่น เมื่อ พ.ศ. 2524 ต่อมา
เมื่อมีการขุดเจาะส ารวจเพิ่มเติมจึงพบว่าปริมาณของแก๊สธรรมชาติมีมากเพียงพอที่จะ
น าไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้นในปี พ.ศ.2542 รัฐบาลจึงได้สร้างโรงงานแยกแก๊สที่ขึ้นที่
ต าบลตาพุด จังหวัดระยอง ท าให้สามารถแยกแก๊สต่างๆ ออกใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
แก๊สธรรมชาติส่วนใหญ่ประกอบด้วยสารที่มีคาร์บอนเพียง 1 อะตอมเรียกว่า
แก๊สมีเทน ซึ่งมีปริมาณร้อยละ 80 - 95 แล้วแต่แหล่งก าเนิด นอกนั้นเป็นสาร
ไฮโดรคาร์บอนที่มีจ านวนคาร์บอน 2-5 อะตอม ส่วนที่เล็กน้อยเป็นไอปรอท แก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไนโตรเจน และไอน้ าการ
น าแก๊สธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ ต้องขุดเจาะสารจากใต้ดินขึ้นมา ซึ่งมีทั้งสารที่เป็น
ของเหลวและแก๊สผสมกัน จากนั้นแยกสารทั้งสองส่วนนี้ออกจากกัน แล้วส่งแก๊สผสมไป
ก าจัดสารเจือปนที่ไม่ต้องการ เช่น ปรอท คาร์บอนไดออกไซด์ และน้ า จากนั้นจึงผ่าน
แก๊สผสมเข้าสู่หอกลั่นเพื่อแยกแก๊สแต่ละชนิด ได้แก่ มีเทน อีเทน โพรเพน และแก๊สอื่นๆ
เพื่อน าไปใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกัน
พลังงานชีวมวล (Biomass Energy)
พลังงานชีวมวล เป็นพลังงานที่มีแหล่งก าเนิดจากพลังงานจากดวงอาทิตย์
นั่นเอง แต่ได้ถูกเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นพลังงานเคมีที่มีอยู่ในโมเลกุลของพืช สัตว์ หรือใน
รูปสารอาหาร ดังนั้น พลังงานชีวมวลจึงหมายถึงพลังงานจากไม้ มูลสัตว์ และสิ่งปฏิกูล
อื่นๆ เช่น ขยะมูลฝอย เป็นต้น