Page 50 - รวมคัมภีร์อัคคีภัย
P. 50

 ย
ค
ั
ั
ภ
ี
ค
ม
ค
ั
ภ
ี
ร
์
อ
  บ้าน ร้านค้า 13,200 หลัง โบสถ์ 87 หลัง พังพินาศ เป็นผุยผงในกองเพลิง
เหมือนปาฏิหาริย์!! มีรายงานผู้เสียชีวิตเพียง 6 คนเท่านั้น ท้ังๆ ที่น่า จะมีมากกว่าหลายเท่า ส่วนผู้บาดเจ็บ...ไม่มีรายงานจําานวนท่ีแน่นอน
จากการสืบสวนหาสาเหตุ ทราบว่า...เช้ามืดวันอาทิตย์ที่ 2 ของ เดือนกันยายนเกิดเพลิงลุกไหม้ข้ึนที่บ้าน 2 ชั้น ซึ่งเป็นร้านทําาขนมปัง ช่ือ KING’S BAKER ของนาย Thomas Farynor ต้ังอยู่ในซอย PUDDING LANE
คนงานที่นอนหลับอยู่ ต่ืนข้ึนมาก็พบว่าควันไฟคละคลุ้งไปทั่วบ้าน แล้ว
ทุกคนต่างตะเกียกตะกายหนีตายทางหน้าต่างช้ันบน ทะลุไปตาม รางนํา้าบนหลังคาแล้วข้ามไปยังบ้านข้างเคียงอย่างทุลักทุเล
มีเพียงแม่บ้านสูงอายุคนหนึ่งเท่านั้นที่กลัวความสูง ไม่กล้าปีนไต่หนี ซึ่งในที่สุดเธอก็เสียชีวิตคากองเพลิงเป็นศพแรกของเหตุการณ์ครั้งนี้
ประกายไฟที่เกิดจากเพลิงตะโบมโหมกระหนํา่าอย่างเมามัน ได้แตก กระจายไปทุกทิศทางตามแรงลมที่กระพือซ้ําาอย่างเกร้ียวกราด ทําาให้ บ้านเรือน ร้านค้าข้างเคียง ซึ่งส่วนใหญ่สร้างด้วยไม้ ถูกกลืนเข้ากองไฟ ขยายวงกว้างข้ึน...กว้างขึ้นอย่างน่ากลัว
ช่วงเวลาอึดใจเดียว ไฟได้ขยายตัวเผาผลาญถึงย่าน STAR INN บน ถนน FISH STREET ไปจนถึงโบสถ์ ST.MARGARET
ไม่เพียงเท่าน้ัน อุณหภูมิที่สูงข้ึนพร้อมๆ กับกระแสลมท่ีรุนแรง ได้
แพร่กระจายความร้อน ลุกลามข้ามไปถึง
THAMESSTREET ที่ติดกับท่าเรือซึ่งมีสินค้าอันเป็นเชื้อเพลิงวางกอง อยู่มากมาย อาทิ ไขมันสัตว์, เหล้า, ถ่านหิน, ไม้ซุง ฯลฯ
ในส่วนของการดับเพลิง ท้ังเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร ถูกเกณฑ์มา จากท่ัวทุกสารทิศพร้อมท้ังอุปกรณ์ในการดับเพลิง อาทิ ถังนํา้า ขวาน บันได เครื่องดับเพลิงแบบกระบอกฉีด แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่อยู่ในสภาพ ใช้งาน เพราะต่างละเลยการดูแลบําารุงรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ําาที่จะ ใช้ในการดับไฟ ไม่มีการเตรียมไว้ก่อน จึงไม่สามารถทําาการดับเพลิงได้ อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที
และน่ีคือเหตุการณ์เพลิงไหม้ใหญ่ในกรุงลอนดอน (The Great Fire of London) ทเ่ี กดิ ขน้ึ เมอ่ื 2 กนั ยายน 1666-5 กนั ยายน 1666 (พ.ศ. 2209) ซึ่งถือว่าเป็นประวัติศาสตร์แห่งไฟไหม้ท่ีใหญ่ที่สุดในโลก
● (ภาพซ้าย) LFCDA : The London Fire and civil defence authority เป็น พิพิธภันฑ์ดับเพลิงในกรุงลอนดอน
(ภาพขวา) อ.คณาทัต จันทร์ศิริ ประธาน สมาคมการดับเพลิง และช่วยชีวิต FARA และ สมาพันธ์การช่วยชีวิตดับเพลิง และกู้ภัยแห่งเอเซีย ครั้งไปเยือน พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2541
หลังจาก The Great Fire of London รัฐบาลของประเทศอังกฤษ จึงได้จัดตั้งและพัฒนากิจการดับเพลิงและช่วยชีวิตให้เจริญงอกงามขึ้น มาได้เรื่อยๆ จนในที่สุดได้มาอยู่ภายใต้การกําากับของหน่วยงานที่ชื่อ LFCDA : The London Fire and civil defence authority (ค.ศ.1985)
351 ปีผ่านไป The Great Fire of High-rise Building in London เกิดขึ้นครับ !
     ISSUE3.VOLUME24.NOVEMBER2017-JANUARY2018
19
                  






































































   48   49   50   51   52