Page 50 - Merged-๒๐๑๘๑๑๐๙-๑๕๕๘๑๒
P. 50
ความหลากหลายของศิลปวัฒนธรรมไทย เพื่อการเรียนรู้ สร้างความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์และความเป็นไทย
น้าไปสู่การสร้างความสัมพันธ์อันดี ในระดับประชาชน ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ ตลอดจนเพิ่ม
มูลค่าทางเศรษฐกิจ ให้แก่ประเทศ
๕. สนับสนุนการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน และวัฒนธรรมสากล และ
การสร้างสรรค์งานศิลปะและวัฒนธรรมที่เป็นสากล เพื่อเตรียมเข้าสู่ เสาหลักวัฒนธรรมของประชาคมอาเซียนและ
เพื่อการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก
๖. ปลูกฝังค่านิยมและจิตส านึกที่ดี รวมทั้งสนับสนุนการผลิตสื่อคุณภาพ เพื่อเปิดพื้นที่สาธารณะให้
เยาวชนและประชาชนได้มีโอกาสแสดงออกอย่างสร้างสรรค์
การขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมสู่ประเทศไทย ๔.๐
กระทรวงวัฒนธรรมจะส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรมและบริการที่มีมูลค่าสูง โดย
เริ่มจากสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ ๕F คือ
๑. อาหาร (Food)
๒. ภาพยนตร์และวีดีทัศน์ (Film)
๓. การออกแบบและแฟชั่น (Fashion)
๔. มวย (Fighting)
๕. เทศกาล (Festival)
โดยจะร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนตามแนวนโยบายพลังประชารัฐ เพื่อพัฒนา
สินค้าและบริการดังกล่าวให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดของลูกค้า เชื่อมโยงความร่วมมือทั้งภายในและ
ภายนอกประเทศ
การขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒
ยุทธศาสตร์ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ มีทั้งหมด ๑๐ ยุทธศาสตร์ โดยมี ๒ ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับงาน
ของกระทรวงวัฒนธรรม ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ทุนมนุษย์ของประเทศไทยยังมี
ปัญหาใน ด้านคุณภาพคนในแต่ละช่วงวัย โดยผลลัพธ์ทางการศึกษาของเด็กวัยเรียนค่อนข้างต่ า การพัฒนาความรู้
และ ทักษะของแรงงานไม่ตรงกับตลาดงาน ในขณะที่คนไทยจ านวนไม่น้อยยังไม่สามารถคัดกรองและเลือกรับ
วัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม ซึ่งส่งผลต่อวิกฤตค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมในการด าเนินชีวิต การพัฒนาใน
ระยะต่อไปจึงต้องให้ความส าคัญกับการวางรากฐานการพัฒนาคนให้มีความสมบูรณ์ เพื่อให้คนไทยมีทัศนคติ และ
พฤติกรรมตามบรรทัดฐานที่ดีของสังคม ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพสูงตามมาตรฐานสากล และสามารถ เรียนรู้
ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง มีสุขภาวะที่ดีขึ้น คนทุกช่วงวัยมีทักษะ ความรู้ และความสามารถเพิ่มขึ้น รวมทั้งสถาบัน
ทางสังคมมีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศเพิ่มขึ้น
แนวทางการพัฒนาที่ส าคัญ ประกอบด้วย (๑) ปรับเปลี่ยนค่านิยมคนไทยให้มีคุณธรรม จริยธรรม
มีวินัย จิตสาธารณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ อาทิ ส่งเสริมให้มีกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในและนอก
ห้องเรียนที่สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ความมีระเบียบวินัยและจิตสาธารณะ (๒) พัฒนาศักยภาพคนให้มีทักษะ
ความรู้ และความสามารถในการด ารงชีวิตอย่างมีคุณค่า อาทิ ส่งเสริมเด็กปฐมวัยให้มีการพัฒนาทักษะทางสมอง
สรุปผลการด าเนินงานของส านักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี ประจ าปี ๒๕๖๑ 45