Page 5 - บทที่ 11 แสงและทัศนอุปกรณ์
P. 5
3
11.2.2 ภาพที่เกิดจากกระเงาทรงกลม
ถ้าเป็นกระจกโค้งเว้าผิวสะท้อนแสง เรียกว่า กระเงาเว้า และถ้าเป็นกระจกโค้งนูนผิวสะท้อน เรียกว่า
กระเงานูน
รูปที่ 45 โฟกัสของกระจกเงาเว้า รูปที่ 46 โฟกัสของกระจกเงานูน
เส้นตรงที่ลากผ่านจุด C และ V เรียกว่า แกนมุขสำคัญ โดยจุด V เรียกว่า จุดยอด ในกรณีกระจกเงา
นูน รังสีตกกระทบมีแนวขนานกับแกนมุขสำคัญ ดังรูปที่ 46 ต่อแนวของรังสีสะท้อนให้ย้อนกลับไปพบกัน จะ
ได้จุดตัดของรังสีสะท้อนหรือโฟกัสของกระจกเงานูนอยู่ด้านหลังของกระจกเงาบนเส้นแกนมุขสำคัญ ความยาว
โฟกัสของกระจกเงานูนเป็นครึ่งหนึ่งของรังสีความโค้งเช่นเดียวกับกรณีกระจกเงาเว้า แต่สำหรับรังสีตกกระทบ
ที่ขนานกันแต่ไม่ขนานกับแกนมุขสำคัญ เมื่อสะท้อนจากกระจกโค้งจะไปตัดกันที่จุดหนึ่งบนระนาบโฟกัส โดย
เกณฑ์นี้ใช้ได้เฉพาะรังสีตกกระทบที่ทำมุมเล็ก ๆ กับแกนมุขสำคัญและตกกระทบกระจกเงาบริเวณใกล้ขั้ว
กระจกเงาเท่านั้น
รูปที่ 47 ภาพที่เกิดจากกระจกเงาเว้า
ในกรณีกระจกเงาเว้า รังสีทั้งหลายตัดกันหน้ากระจกเงาเว้า ภาพที่เกิดจึงเป็นภาพจริงที่สามารถใช้
ฉากรับภาพได้ วัตถุที่อยู่ห่างจากกระจกเงาเว้าไกลกว่าความยาวโฟกัส จะเกิดภาพจริงเสมอ แต่ถ้าวัตถุอยู่ระ
กว่างโฟกัสกับขั้วกระจก จะเกิดภาพเสมือน โดยกระจกเงาทั้ง 2 ชนิด มีความสัมพันธ์ของระยะวัตถุ ระยะภาพ
และความยาวโฟกัส เป็น
1 1 1
= +
′
นอกจากนี้ขนาดภาพยังมีทั้งใหญ่กว่า เท่ากับ และเล็กกว่าวัตถุ เรียกการเปรียบเทียบขนาดของภาพ
กับขนาดของวัตถุว่า การขยาย ให้ M แทนการขยาย มีสูตรว่า
ขนาดภาพ
=
ขนาดวัตถุ